วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ปาย
ปาย เมืองเล็ก ๆ ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยขุนเขา สูงตระหง่านเป็นรอยต่อชายแดนไทย-พม่า ฤดูหนาวอากาศเย็นจัด เมืองเล็กๆแห่งนี้มักปกคลุมด้วยสายหมอก ละอองน้ำจางๆยามเช้า บรรยากาศอันเงียบสงบ ทุ่งนาสีเขียว ท้องฟ้าสีคราม กับแสงแดดอุ่นๆ ที่ทอดผ่านม่านหมอกหนา แลเห็นต้นสนไม้ยืนต้นเมืองหนาวสูงใหญ่เป็นทิวแถวตามเชิงเขา วิถีชีวิตที่เรียบง่ายของผู้คน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์นี้ ปายได้ดึงดูดนักเดินทางรวมทั้งตัวผมเองให้มาสัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งนี้
ครั้นเมื่อมาถึงที่นี่ครั้งแรก ทำให้ผมย้อนนึกถึงบรรยากาศคล้ายๆ วังเวียงที่ลาวยังไงอย่างนั้นเลยทีเดียว เดิมที ปาย จะเป็นเพียงทางผ่านของผม ซึ่งเลือกที่จะเดินทางโดยรถยนต์ จากเชียงใหม่ สู่แม่ฮ่องสอน แต่หลังจากที่ได้อ่านหนังสือท่องเที่ยวอยู่หลายเล่ม...อดไม่ได้ครับที่จะต้องแวะพัก 1 คืน (ที่พักปาย) ตั้งใจจะสำรวจก่อนผ่านไปเฉยๆ ในทริปครั้งแรกของผม ซึ่งก็ผ่านมาแปดปีมาแล้ว
ปาย ในรอบสองของผมนี้ คือ จุดหมายปลายทาง ไม่ใช่ทางผ่านอีกต่อไป ตั้งใจจะสำรวจให้ทั่วๆ สักที รอบนี้จึงมีรูปสถานที่ท่องเที่ยวมาฝากกันเยอะทีเดียว.... รอบสองนี้เมื่อปลายปี 48 นี้เอง อยากชมรูป คลิก รูปปาย นี้เลย
ก่อนครั้งล่าสุด ปลาย ปี 50 ล่าสุดนี้ ปายรอบที่ 3 ผมประมวลภาพ ตัวเมืองปายแบบระเอียด ตามซอยตามมุม บวกรีสอร์ทใหม่ๆ ถึงใหม่ที่สุด อีกเพียบ แถมข้อมูล บ้านวัดจันทร์ อีก อ้อ...คงอยากรู้แล้วซิว่า บ้านวัดจันทร์ คืออะไร คลิกนี้เลย บ้านวัดจันทร์ เมืองเล็กของชุมชนชาวปกากะญอ รอยต่อแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่
และครั้งล่าสุดนี้ เมื่อ ปลายเดือน ตุลาคม ปี 53 นี้เอง จากการสำรวจ พบว่า คนไทยนิยมเที่ยวปายมากขึ้น ถนนคนเดินปาย ขยายมากขึ้น จากสุดสะพานไม้ไผ่ริมน้ำปาย ไปถึง สี่แยกปายหนาว (Pai in Love) ไฮไลท์น่าจะอยู่ที่ถนนคนเดิน เริ่มตั้งแต่ 5 โมงเย็น ถึง 4 ทุ่ม หลังสี่ทุ่มตลาดเริ่มวายโดยตัวของมันเอง ถึงจะจอดรถริมถนนได้ (หากคุณต้องพักรีสอร์ทแถวถนนคนเดิน) หรือไม่ก็จอดในวัดกลาง แต่ก็เสียวๆรถถูกทุบกระจกอยู่เหมือนกัน รอบนี้ผมได้อับเดท ปายฮิตๆไว้เยอะเช่น Coffee in Love, Coffee Hillside, สี่แยกปายหนาว หรือ Pai in Love, บ้านดิน หมู่บ้านยูนนาน, ปางอุ๋ง, บ้านรักไทย, บ้านรวมไทย, การเดินทาง, แพ็คเก็จทัวร์ปายต่างๆ อีกเพียบ ที่สุดแห่งความละเอียดทุกซอกทุกมุมของปาย
ปายได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งยุโรป ญี่ปุ่น มานานแล้ว สำหรับคนไทยแล้ว เพิ่งบูม 3 ปีที่ผ่านมา สำหรับปีใหม่ปีนี้ ที่ปายนั่งท่องเที่ยวเยอะเป็นพิเศษ ที่พักหลายที่เต็มไปตั้งแต่ ปลายเดือนตุลาคม ฝนยังไม่หมดดีเลย ก็เต็มกันซะแล้ว ช่วงวันหยุดต่อเนื่องยาวๆ เดือนธันวา โดยเฉพาะปลายปี อันนี้ไม่แนะนำให้ไปครับ นักท่องเที่ยวเยอะมากเกินไป ต้องไปแย่งเข้าคิวกันทานอาหาร แถมยังราคาที่พักก็สูงกว่าปกติเป็นพิเศษ คงไม่สนุกแน่ ยังมีอะไรอีกเยอะ....อ่าน ถามตอบเรื่องปาย ได้ที่นี่
พักผ่อนอย่างจริงจัง สัก 2- 3 วัน คงจะดีไม่น้อย จิบกาแฟร้อนๆ อ่านหนังสือดีๆสักเล่ม ริมระเบียงรีสอร์ท บางทีจะติดริมน้ำ หรือริมทุ่งคงจะดีไม่น้อย นั่งทอดสายตาไปไกลๆ ท่ามกลางทะเลหมอกยามเช้า คุณอาจได้ไอเดีย ดีๆ กลับมาเริ่มต้นปีใหม่อย่างที่ไม่เคยมาก่อน
สถานที่เที่ยวแห่งนึงที่ไม่ควรพลาดหากผ่านมาจากเชียงใหม่(ถนนสายแม่มาลัย) คือ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง (Huai Nam Dang National Park) รอบที่ 3 นี้ผมเองก็พักที่อุทยานฯที่นี่ 1 คืน ก่อนไปปาย อีกแห่งที่ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลมาคือ โครงการเกษตรที่ราบสูงบ้านวัดจันทร์ แต่เข้าไปลำบากหน่อย 38 กม.ได้ ทางคดเคี้ยวขึ้นเขา น้องๆ กับทางที่มาเชียงใหม่-ปาย เลยทีเดียว จุดเด่นคือ บรรยากาศยามเย็นและเช้า อากาศสดชื่นบนที่ราบสูง ป่าสนธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ วิถีชีวิตชาวเขาปากะญอ โครงการเกษตรต่างๆ แต่ที่บ้านวัดจันทร์นี้ไม่เหมาะกับคนที่เบื่อการนั่งรถ และชอบความสะดวกสบาย
วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ประวัติกีฬาเอเชี่ยนเกมส์
%2525B8%255B1%255D.jpg">
เอเชียนเกมส์ (Asian Games) เป็นมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของทวีปเอเชีย จัดการแข่งขันทุกๆ 4 ปี กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ถือกำเนิดมาจากการจัดแข่งขันกีฬา "แชมเปี้ยนแห่งภาคตะวันออกไกล" (Far Eastern Championship Games) โดยบุคคลกลุ่มหนึ่งในภาคพื้นเอเชีย แต่การแข่งขันก็ได้เลิกราไปด้วยสภาพปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจในขณะนั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2490 การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในภาคพื้นเอเชียก็ได้เกิดขึ้นภายใต้ชื่อของการแข่งขันว่า "เอเชียนเกมส์" ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของ ดร.จี. ดี. สนธิ (Dr.G.D.Sondhi) คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศอินเดีย ทั้งนี้โดยมีความเห็นว่า จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทุกครั้งที่ผ่านมา ประเทศในแถบเอเชียมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันน้อยมาก เนื่องจากนักกีฬาเอเชียมีความเสียเปรียบนักกีฬาจากประเทศยุโรปและอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหรือมาตรฐานการกีฬา จึงคิดที่จะยกระดับมาตรฐานการกีฬาของประเทศในกลุ่มเอเชียให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกับนักกีฬาในกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะประการสำคัญที่สุดคือสานสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในภาคพื้นเอเชีย เนื่องจากในช่วงเวลานั้นประเทศในกลุ่มเอเชียหลายประเทศ มีความแตกต่างกันในทางเศรษฐกิจและความคิดเห็นทางการเมือง
ผู้เข้าแข่งขันเข้าแข่งโดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (National Olympic Committee - NOC) เพื่อเป็นตัวแทนความเป็นพลเมืองของประเทศแต่ละประเทศ การใช้เพลงชาติ และธงชาติพร้อมด้วยพิธีมอบเหรียญรางวัล และตารางการแข่งขันได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปแล้วจะมีแต่ละประเทศจะมีเพียงตัวแทนเดียว แต่บางประเทศที่ยังไม่ได้รับอิสระอย่างชัดเจนได้เข้าร่วมแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ไต้หวัน ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันในฐานะชาวจีนไต้หวัน เนื่องมาจากสถานภาพทางการเมืองของไต้หวัน
เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 15 จัดขึ้นที่โดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งจัดเมื่อวันที่ 1 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 จัดขึ้นที่กว่างโจว ประเทศจีน วันที่ 12 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
เอเชียนเกมส์ (Asian Games) เป็นมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของทวีปเอเชีย จัดการแข่งขันทุกๆ 4 ปี กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ถือกำเนิดมาจากการจัดแข่งขันกีฬา "แชมเปี้ยนแห่งภาคตะวันออกไกล" (Far Eastern Championship Games) โดยบุคคลกลุ่มหนึ่งในภาคพื้นเอเชีย แต่การแข่งขันก็ได้เลิกราไปด้วยสภาพปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจในขณะนั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2490 การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในภาคพื้นเอเชียก็ได้เกิดขึ้นภายใต้ชื่อของการแข่งขันว่า "เอเชียนเกมส์" ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของ ดร.จี. ดี. สนธิ (Dr.G.D.Sondhi) คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศอินเดีย ทั้งนี้โดยมีความเห็นว่า จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทุกครั้งที่ผ่านมา ประเทศในแถบเอเชียมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันน้อยมาก เนื่องจากนักกีฬาเอเชียมีความเสียเปรียบนักกีฬาจากประเทศยุโรปและอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหรือมาตรฐานการกีฬา จึงคิดที่จะยกระดับมาตรฐานการกีฬาของประเทศในกลุ่มเอเชียให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกับนักกีฬาในกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะประการสำคัญที่สุดคือสานสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในภาคพื้นเอเชีย เนื่องจากในช่วงเวลานั้นประเทศในกลุ่มเอเชียหลายประเทศ มีความแตกต่างกันในทางเศรษฐกิจและความคิดเห็นทางการเมือง
ผู้เข้าแข่งขันเข้าแข่งโดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (National Olympic Committee - NOC) เพื่อเป็นตัวแทนความเป็นพลเมืองของประเทศแต่ละประเทศ การใช้เพลงชาติ และธงชาติพร้อมด้วยพิธีมอบเหรียญรางวัล และตารางการแข่งขันได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปแล้วจะมีแต่ละประเทศจะมีเพียงตัวแทนเดียว แต่บางประเทศที่ยังไม่ได้รับอิสระอย่างชัดเจนได้เข้าร่วมแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ไต้หวัน ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันในฐานะชาวจีนไต้หวัน เนื่องมาจากสถานภาพทางการเมืองของไต้หวัน
เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 15 จัดขึ้นที่โดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งจัดเมื่อวันที่ 1 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 จัดขึ้นที่กว่างโจว ประเทศจีน วันที่ 12 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)