วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไวน์


ไวน์ (อังกฤษ: wine; ฝรั่งเศส: vin) คือ เมรัยอันผลิตจากน้ำองุ่น แต่ก็อาจใช้กับเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำผลไม้อื่นเช่นกัน ไวน์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาลในองุ่น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ไวน์ขาว (White wine) หรือ (vin blanc) และ ไวน์แดง (Red wine) หรือ (vin rouge) ไวน์ที่ได้จากการผสมระหว่างไวน์ 2 ชนิดเรียกว่า ไวน์สีชมพู (Rosé หรือว่า Pink wine) [ rosé แปลว่าสีชมพู ถ้าใช้กับ wine เรียกว่า rosé ไปเลยไม่ต้องเรียก vin rosé] ส่วนไวน์ที่มีการอัดก๊าซลงไป จะเรียกว่า สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine) สปาร์กลิงไวน์เป็นการเลียนแบบ แชมเปญ (Champagne)

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีมาหลายพันปีแล้ว มีการค้นพบโถโบราณบรรจุเมล็ดองุ่นไร่ซึ่งมีอายุนับเนื่องขึ้นไปกว่า 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล

นอกจากที่ประเทศอิหร่านแล้ว ยังมีการพบร่องรอยของเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ได้จากกรรมวิธีการหมักแบบเดียวกับไวน์ในสมัย 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ทางตอนเหนือของประเทศจีน

ในยุคอียิปต์โบราณ การเพาะปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบระเบียบมาก เทพต่าง ๆ ในตำนานเทพปกรณัม ทั้งโอซิริสของอียิปต์ เทพไดโอนีซุสของกรีก บัคคัสของโรมัน หรือกิลกาเมชของบาบิโลน ล้วนแล้วแต่เป็นเทพแห่งไวน์ นอกจากนั้น ไวน์ยังเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูเจ้าตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ไวน์มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในช่วงสองร้อยปีหลัง ชาวโรมันในสมัยก่อนนั้นดื่มไวน์ที่มีรสฉุนจนต้องผสมน้ำทะเลก่อนดื่ม รสชาติของไวน์ดังกล่าวแตกต่างจากไวน์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง

ในสมัยศตวรรษที่ 19 ไวน์ถือว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โดยคนงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวพืชผลจะดื่มไวน์ถึงวันละ 6-8 ลิตร และนายจ้างจะจ่ายไวน์ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแรง เพราะสมัยนั้นน้ำยังไม่ค่อยสะอาดพอที่จะนำมาดื่มได้

[แก้] ส่วนประกอบของไวน์ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของไวน์คือแอลกอฮอล์ที่ละลายในน้ำ และส่วนผสมทางเคมีอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นสารระเหยและสารไม่ระเหย ทั้งสารละลายและสารแขวนลอย ปกติแล้ว ปริมาณของแอลกอฮอล์จะอยู่ระหว่าง 9-15 เปอร์เซ็นต์ต่อปริมาณน้ำ 85 เปอร์เซ็นต์

แอลกอฮอล์ในไวน์ส่วนใหญ่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ และยังพบตัวทำละลายประเภทกลีเซอรอล ซอร์บิทอล และบูตีแลนกลีคอลด้วย

นอกจากนั้น ไวน์ยังประกอบด้วย

น้ำตาลชนิดต่าง ๆ ทั้งกลูโคส ฟรุคโตส ในปริมาณที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 1-2 กรัมต่อลิตร ในดรายไวน์ที่หมักจนน้ำตาลกลายเป็นแอลกอฮอล์แล้ว จนถึง 50-60 กรัมต่อลิตร ในไวน์หวานที่กระบวนการหมักบ่มยังไม่สมบูรณ์
กรดต่าง ๆ ทั้งกรดมาลิก กรดซิตตริก กรดทาทาริก กรดอะซีติก กรดแลกติก กรดซัคซินิก
ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น แทนนิน แอนโทซีอัน
รงควัตถุ (pigment) ต่างๆ เช่น แอนโทไซยานิน

การแบ่งประเภทไวน์

ในหลาย ๆ ประเทศจะแบ่งประเภทไวน์ตามพันธุ์ขององุ่นที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ และในประเทศฝรั่งเศสมีการแบ่งประเภทไวน์ตามพื้นที่แหล่งผลิตหรือกรู (ฝรั่งเศส: cru) ผู้ผลิต และปีที่ผลิต

[แก้] พันธุ์องุ่น (ฝรั่งเศส: Cépage / อังกฤษ: Cultivar)พันธุ์องุ่นดำที่มีชื่อเสียงในการทำไวน์แดงหรือไวน์ชมพู ได้แก่

พันธุ์องุ่นหลักของเมืองบอร์โด (Bordeaux)
กาแบร์เน-โซวีญง (cabernet-sauvignon)
กาแบร์เน-ฟรอง (cabernet franc)
แมร์โลนัวร์ (merlot noir)
เปอตีแวร์โด (petit verdot)
โกตหรือมูร์แวด (cot or mourvede)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นชองปาญ (Champagne)
ปีโนนัวร์ (pinot noir)
[ขาว] ปีโนเมอนีเย (pinot meunier)
[ขาว] ชาร์ดอเน (chardonnay)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นบูร์กอญ (Bourgogne) [โบโชเล Beaujolais]
กาเมนัวร์ (gamay noir) หรือกาเมโฟรโอ (gamay freaux)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นลองเกอด็อก-รูซียง (Languedoc Rousillon) [เวเดแอน: แวงดูนาตูแรล VDN: Vin Doux Naturel]
ซีรา (syrah)
เกรอนาช (grenache)
พันธุ์องุ่นหลักของรัฐแคลิฟอร์เนีย (California)
ซินฟันเดล (zinfandel) นำมาจากประเทศอิตาลี
พันธุ์ขาว องุ่นที่นิยมนำมาทำไวน์ขาวได้แก่

พันธุ์องุ่นหลักของเมืองบอร์โด (Bordeaux) [โซแตร์น, อ็องตร์-เดอ-แมร์, ลูปียัก Sauterne, Entre-deux-mer, Loupiac]
โซวีญงบล็อง (sauvignon blanc)
เซมียง (sémillon)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นบูร์กอญ (Bourgogne) [ชาบลี, มาร์โซล Chablis, Marsault]
ชาร์ดอเน (chardonnay)
อาลีโกเต (aligoté)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ (Pays de la Loire) [วูเวร Vouvray]
เชอแนงบล็อง (chenin blanc)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นอัลซาซ (Alsace)
เกเวือร์ซทรามีเนอร์ (gewürztraminer)
ปีโนกรี (pinot gris)
รีเอสลิง (riesling)
มุสกา (muscat)
ซีลวาเน (sylvaner)
อามีญ (amigne) (ในรัฐวาเล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
ซาวาแญง (savagnin)
[แก้] พื้นที่คำว่า "กรู" (ฝรั่งเศส: cru) หมายถึงไวน์เฉพาะถิ่นที่ผลิตในพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้ โดยพื้นที่แต่ละแห่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม สภาพพื้นดิน สภาพอากาศ ซึ่งทำให้องุ่นที่ปลูกในพื้นที่นั้นๆ ให้รสชาติและลักษณะไวน์ที่เป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น ไวน์ของผู้ผลิตในประเทศต่าง ๆ (ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ ชิลี แคลิฟอร์เนีย - สหรัฐอเมริกา) สร้างความหลากหลายให้กับรสชาติไวน์ตามลักษณะของพื้นที่ผลิต (แสงแดด ความชื้น คุณภาพดิน)

ในฝรั่งเศส พื้นที่ผลิตมักจะสัมพันธุ์กับพันธุ์องุ่น โดยในพื้นที่หนึ่ง ๆ อาจจะปลูกองุ่นเพียงพันธุ์เดียว หรือหลายพันธุ์เป็นการเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ไวน์มาดีรอง (ฝรั่งเศส: madiran) จากแถบเทือกเขาพีเรนีส จะทำจากองุ่นพันธุ์ตานา (ฝรั่งเศส: tannat) เท่านั้น

ผู้ผลิตจะตั้งชื่อไวน์ตามชื่อพื้นที่สำหรับไวน์บูร์กอญ (ฝรั่งเศส: Bourgogne) หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่าเบอร์กันดี (อังกฤษ: Burgundy) ส่วนไวน์บอร์โด (ฝรั่งเศส: Bordeaux) ตั้งตามชื่อปราสาท (ฝรั่งเศส: châteaux - ชาโต)

[แก้] ปีที่ผลิต (ฝรั่งเศส: Millésime / อังกฤษ: Vintage)ปีที่ผลิต คือ ปีที่มีการเก็บองุ่นซึ่งนำมาใช้ทำไวน์นั้น ๆ เป็นตัวบ่งบอกถึงลักษณะอากาศในปีต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของคุณภาพไวน์ โดยปกติผู้ผลิตจะเขียนชื่อปีที่ผลิตไว้บนฉลาก กฎหมายของสหภาพยุโรปไม่ได้กำหนดให้แจ้งปีที่เก็บเกี่ยวองุ่นที่ใช้ทำไวน์แต่อย่างใด

ชนิดของไวน์

ไวน์แดง (อังกฤษ: red wine)

ตัวอย่างไวน์แดงที่ได้รับความนิยม

บาโรโล (Barolo) - อิตาลี
บรูเนลโลดีมอนตัลชีโน (Brunello di Montalcino) - อิตาลี
โบโชเล (Beaujolais) - ฝรั่งเศส
บอร์โด (Bordeaux) - ฝรั่งเศส
บูร์กอญ (Bourgogne) หรือบูร์กันดี (Burgundy) - ฝรั่งเศส
กาแบร์เนโซวีญง (Cabernet Sauvignon) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย มอลโดวา แอฟริกาใต้
การ์เมเนเร (Carmenere) - ชิลี
กีอันตี (Chianti) - อิตาลี
แมร์โล (Merlot) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย วอชิงตัน ชิลี แอฟริกาใต้
ปีโนนัวร์ (Pinot Noir) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออริกอน แอฟริกาใต้
พิโนเทจ (Pinotage) - แอฟริกาใต้
เรียวคา (Rioja) - สเปน
ซีรา/ชีรัซ (Syrah/Shiraz) - ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย แคลิฟอร์เนีย แอฟริกาใต้
วัลโปลีเชลลา (Valpolicella) - อิตาลี
ซินฟันเดล (Zinfandel) - แคลิฟอร์เนีย
[แก้] ไวน์ขาว (White wine)ผลิตจากองุ่นขาวหรือองุ่นแดงแต่เอาเฉพาะน้ำองุ่น แบ่งออกเป็นหลายชนิด

ไวน์ขาวอ่อน (Vin Blanc Tranquille or Doux)
ไวน์ขาวแห้ง (Vin Blanc Sec or Demi-sec)
ไวน์ขาวหวาน (VDN, Porto, Xeres)
ไวน์ขาวอัดก๊าซ (Champagne, Vouvrey)
ลิเกอร์จากองุ่นขาว (Cognac, Armagnac, Pineau)
ตัวอย่างไวน์ขาวที่ได้รับความนิยม

ชาร์ดอเน (Chardonnay) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้
ชาบลี (Chablis) - ฝรั่งเศส
เชอแนงบล็อง (Chenin Blanc) - แอฟริกาใต้ ฝรั่งเศส
ฟรัสกาตี (Frascati) - อิตาลี
เกเวือร์ซทรามีเนอร์ (Gewürztraminer) - ฝรั่งเศส เยอรมนี แอฟริกาใต้
ลีบเฟรามิลค์ (Liebfraumilch) - เยอรมนี
ออร์วีเอโต (Orvieto) - อิตาลี
ปีโนกรี/ปีนอตกรีโจ (Pinot Gris/Pinot Grigio) - ฝรั่งเศส อิตาลี ออริกอน
ปุยยี-ฟุยเซ (Pouilly-Fuissé) - ฝรั่งเศส
รีสลิง (Riesling) – ฝรั่งเศส เยอรมนี
โซวีญงบล็อง (Sauvignon Blanc) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้
เซมียง (Sémillon) - แอฟริกาใต้
โซอาเว (Soave) - อิตาลี
แวร์ดิกกีโอเดย์กัสเตลลีดีเจซี (Verdicchio dei castelli di Jesi) - อิตาลี
[แก้] สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine)เป็นไวน์ชนิดมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อัดอยู่

ตัวอย่างสปาร์กลิงไวน์ที่ได้รับความนิยม

อัสตีสปูมันเต (Asti spumante) - อิตาลี
กาบา (Cava) - สเปน
แชมเปญ/ชองปาญ (Champagne) - ฝรั่งเศส สปาร์กลิงไวน์ที่ผลิตขึ้นที่แคว้นนี้เท่านั้นจึงจะได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อว่า แชมเปญ
ฟรันชากอร์ตา (Franciacorta) - อิตาลี
โปรเซกโก (Prosecco) - อิตาลี
เซคท์ (Sekt) - เยอรมัน
สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine) – แคลิฟอร์เนีย ออริกอน วอชิงตัน นิวเม็กซิโก
[แก้] ไวน์สีกุหลาบ (rosé)บูซุยโออาตซะเดโบโฮติน (Busuioacă de Bohotin) : โรมาเนีย
ลาเกรนโรซาโต (Lagrein Rosato) : อิตาลี
โรเซ (Rosé) : ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส โปรตุเกส แอฟริกาใต้ สเปน สหรัฐอเมริกา ตุรกี

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์


เทศกาลงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ปี 53

นครปฐม-จังหวัดนครปฐมเตรียมจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ปี 2553 ระหว่างวันที่ 18 - 26 พฤศจิกายน 2553 รวมงาน 9 วัน 9 คืนภูมิหลัง
งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากที่โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ครั้งใหญ่แล้ว ยังให้ขุด "คลองเจดีย์บูชา" ตั้งแต่บ้านท่านามาจนถึงกลางเมืองนครปฐม เพื่อใช้เป็นเส้นทางมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์อีกด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้า ให้ดำเนินการปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์สืบต่อมา และงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ก็จัดขึ้นเป็นประจำ
สำหรับการจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ปี 2553 ในปีนี้

พระธรรมปริยัติเวที เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ประธานจัดงานเทศกาลนมัสการ องค์พระปฐมเจดีย์ ปี 2552 กล่าวว่า องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เป็นปูชนียสถาน ที่สำคัญยิ่งเป็นศูนย์รวมแห่งสถาบันสำคัญทั้งสาม คือสถาบันชาติ สถาบันพระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นพระเจดีย์ที่ก่อสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีอายุนับพันปีภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ครั้งโบราณได้กำหนดการจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันเพ็ญกลางเดือน 12 เป็นประจำทุกปี ประเพณีสืบทอดตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อจะได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ประหนึ่งมาเฝ้าอยู่เบื้องพระยุคลบาทแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงนับว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐ สุด และอีกประการหนึ่งก็เพื่อจะได้ช่วยกันบริจาคเงินสมทบทุนไว้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ให้ยืนยงคงอยู่ตลอดไป