วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เกาะสมุย



เกาะสมุยในอดีตคนไทยรู้จักเกาะสมุยว่ามีมะพร้าวพันธุ์ดีมากที่สุดปัจจุบันนักท่องเที่ยวทั่วโลกเรียกขานเกาะสมุยว่า สวรรค์กลางอ่าวไทยเกาะสมุยมีหาดทรายขาวสวยขนานไปกับทะเลและทิวมะพร้าวริมชายหาดเกือบรอบเกาะ เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวที่สร้างความหลงไหลให้กับผู้มาเยือน ไม่เพียงเกาะสมุยเท่านั้นบรรดาเกาะบริวารและหมู่เกาะใกล้เคียงก็ล้วนมีทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง จนนักท่องเที่ยวที่มาสมุยรู้สึกถึงความคุ้มเกินค่าการเดินทาง แต่ละหาดบนเกาะมีบรรยากาศการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันไปเช่นหาดเฉวงมีทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใส เหมาะแก่การเล่นน้ำ หาดละไมมีอ่าวโค้งสวยงาม หาดตลิ่งงาม เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดบนเกาะ ไม่เพียงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเท่านั้นเกาะสมุยยังพร้อมไปด้วยที่พักร้านอาหาร บริการนำเที่ยว สถานบรรเทิง และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันการเดินทางไปยังเกาะสมุยนั้นสะดวกมาก มีทั้งเรือโดยสารเรือเฟอร์รี่ข้ามฝั่งที่ออกเกือบทุกชั่วโมงและยังมีเที่ยวบินตรงมายังเกาะสมุยอีกด้วย

การเดินทางไปยังเกาะสมุย
การเดินทางไปยังเกาะสมุยมีความสะดวกมากทำได้หลายวิธีด้วยกัน

ทางรถยนต์ จากสุราษฎร์ธานีใช้ทางหลวงหมายเลข 401 ถึงทางแยกบ้านใน เลี้ยวซ้ายไปท่าเรือเฟอร์รี่ที่อำเภอดอนสัก รวมระยะทางประมาณ 60 กม.

ทางรถไฟ การรถไฟฯมีบริการตั๋วโดยสารร่วมใช้โดยสารรถไฟมาลงที่สถานีสุราษฎร์ธานี มีรถโดยสารมารับต่อไปลงเรือเฟอร์รี่ข้ามไปยังเกาะสมุย

ทางเรือมีเรือโดยสารออกจากท่าเรือเทศบาลเมืองฯไปยังเกาะสมุย เวลาประมาณ 22.00น.และเรือเฟอร์รี่ที่ออกจากท่าเรือทุกชั่วโมงสามารถซื้อตั๋วขึ้นรถได้จากอำเภอเมือง มาขึ้นเรือที่ท่าเรือดอนสักหรือว่าจะมาขึ้นที่ท่าเรือเลยก็ได้

ทางเครื่องบิน สายการบินบางกอกแอร์เวย์ จำกัด มีบริการเที่ยวบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-เกาะสมุย ทุกวัน



ช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการมาท่องเที่ยวเกาะสมุย
ช่วงเวลาระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม เป็นช่วงฤดูมรสุม ทะเลมีคลื่นลมแรงนักท่องเที่ยวอาจไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางไปยังเกาะต่างๆจึงควรตรวจสอบสภาพอากาศและคลื่นลมในทะเลก่อนเดินทาง

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตำนานวันคริสต์มาส

คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas


เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ โดยพระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร



ด้านนักประวัติศาสตร์ก็มีความเห็นที่ต่างออกไปโดยได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู และเป็นการฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์โลก โดยส่งบุตรชาย คือ "พระเยซู" ลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่บาป และช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากการทำชั่วนั่นเอง ดังนั้นในวันนี้ถือเป็นวันที่มีความหมายสำคัญชาวคริสต์ทั่วโลก และมีการส่งบัตรอวยพร ให้ของขวัญ แก่กันและกัน รวมทั้งประดับประดาตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟ และต้นคริสต์มาสอย่างสวยงาม

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปาย



ปาย เมืองเล็ก ๆ ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยขุนเขา สูงตระหง่านเป็นรอยต่อชายแดนไทย-พม่า ฤดูหนาวอากาศเย็นจัด เมืองเล็กๆแห่งนี้มักปกคลุมด้วยสายหมอก ละอองน้ำจางๆยามเช้า บรรยากาศอันเงียบสงบ ทุ่งนาสีเขียว ท้องฟ้าสีคราม กับแสงแดดอุ่นๆ ที่ทอดผ่านม่านหมอกหนา แลเห็นต้นสนไม้ยืนต้นเมืองหนาวสูงใหญ่เป็นทิวแถวตามเชิงเขา วิถีชีวิตที่เรียบง่ายของผู้คน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์นี้ ปายได้ดึงดูดนักเดินทางรวมทั้งตัวผมเองให้มาสัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งนี้



ครั้นเมื่อมาถึงที่นี่ครั้งแรก ทำให้ผมย้อนนึกถึงบรรยากาศคล้ายๆ วังเวียงที่ลาวยังไงอย่างนั้นเลยทีเดียว เดิมที ปาย จะเป็นเพียงทางผ่านของผม ซึ่งเลือกที่จะเดินทางโดยรถยนต์ จากเชียงใหม่ สู่แม่ฮ่องสอน แต่หลังจากที่ได้อ่านหนังสือท่องเที่ยวอยู่หลายเล่ม...อดไม่ได้ครับที่จะต้องแวะพัก 1 คืน (ที่พักปาย) ตั้งใจจะสำรวจก่อนผ่านไปเฉยๆ ในทริปครั้งแรกของผม ซึ่งก็ผ่านมาแปดปีมาแล้ว
ปาย ในรอบสองของผมนี้ คือ จุดหมายปลายทาง ไม่ใช่ทางผ่านอีกต่อไป ตั้งใจจะสำรวจให้ทั่วๆ สักที รอบนี้จึงมีรูปสถานที่ท่องเที่ยวมาฝากกันเยอะทีเดียว.... รอบสองนี้เมื่อปลายปี 48 นี้เอง อยากชมรูป คลิก รูปปาย นี้เลย
ก่อนครั้งล่าสุด ปลาย ปี 50 ล่าสุดนี้ ปายรอบที่ 3 ผมประมวลภาพ ตัวเมืองปายแบบระเอียด ตามซอยตามมุม บวกรีสอร์ทใหม่ๆ ถึงใหม่ที่สุด อีกเพียบ แถมข้อมูล บ้านวัดจันทร์ อีก อ้อ...คงอยากรู้แล้วซิว่า บ้านวัดจันทร์ คืออะไร คลิกนี้เลย บ้านวัดจันทร์ เมืองเล็กของชุมชนชาวปกากะญอ รอยต่อแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่

และครั้งล่าสุดนี้ เมื่อ ปลายเดือน ตุลาคม ปี 53 นี้เอง จากการสำรวจ พบว่า คนไทยนิยมเที่ยวปายมากขึ้น ถนนคนเดินปาย ขยายมากขึ้น จากสุดสะพานไม้ไผ่ริมน้ำปาย ไปถึง สี่แยกปายหนาว (Pai in Love) ไฮไลท์น่าจะอยู่ที่ถนนคนเดิน เริ่มตั้งแต่ 5 โมงเย็น ถึง 4 ทุ่ม หลังสี่ทุ่มตลาดเริ่มวายโดยตัวของมันเอง ถึงจะจอดรถริมถนนได้ (หากคุณต้องพักรีสอร์ทแถวถนนคนเดิน) หรือไม่ก็จอดในวัดกลาง แต่ก็เสียวๆรถถูกทุบกระจกอยู่เหมือนกัน รอบนี้ผมได้อับเดท ปายฮิตๆไว้เยอะเช่น Coffee in Love, Coffee Hillside, สี่แยกปายหนาว หรือ Pai in Love, บ้านดิน หมู่บ้านยูนนาน, ปางอุ๋ง, บ้านรักไทย, บ้านรวมไทย, การเดินทาง, แพ็คเก็จทัวร์ปายต่างๆ อีกเพียบ ที่สุดแห่งความละเอียดทุกซอกทุกมุมของปาย
ปายได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งยุโรป ญี่ปุ่น มานานแล้ว สำหรับคนไทยแล้ว เพิ่งบูม 3 ปีที่ผ่านมา สำหรับปีใหม่ปีนี้ ที่ปายนั่งท่องเที่ยวเยอะเป็นพิเศษ ที่พักหลายที่เต็มไปตั้งแต่ ปลายเดือนตุลาคม ฝนยังไม่หมดดีเลย ก็เต็มกันซะแล้ว ช่วงวันหยุดต่อเนื่องยาวๆ เดือนธันวา โดยเฉพาะปลายปี อันนี้ไม่แนะนำให้ไปครับ นักท่องเที่ยวเยอะมากเกินไป ต้องไปแย่งเข้าคิวกันทานอาหาร แถมยังราคาที่พักก็สูงกว่าปกติเป็นพิเศษ คงไม่สนุกแน่ ยังมีอะไรอีกเยอะ....อ่าน ถามตอบเรื่องปาย ได้ที่นี่

พักผ่อนอย่างจริงจัง สัก 2- 3 วัน คงจะดีไม่น้อย จิบกาแฟร้อนๆ อ่านหนังสือดีๆสักเล่ม ริมระเบียงรีสอร์ท บางทีจะติดริมน้ำ หรือริมทุ่งคงจะดีไม่น้อย นั่งทอดสายตาไปไกลๆ ท่ามกลางทะเลหมอกยามเช้า คุณอาจได้ไอเดีย ดีๆ กลับมาเริ่มต้นปีใหม่อย่างที่ไม่เคยมาก่อน

สถานที่เที่ยวแห่งนึงที่ไม่ควรพลาดหากผ่านมาจากเชียงใหม่(ถนนสายแม่มาลัย) คือ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง (Huai Nam Dang National Park) รอบที่ 3 นี้ผมเองก็พักที่อุทยานฯที่นี่ 1 คืน ก่อนไปปาย อีกแห่งที่ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลมาคือ โครงการเกษตรที่ราบสูงบ้านวัดจันทร์ แต่เข้าไปลำบากหน่อย 38 กม.ได้ ทางคดเคี้ยวขึ้นเขา น้องๆ กับทางที่มาเชียงใหม่-ปาย เลยทีเดียว จุดเด่นคือ บรรยากาศยามเย็นและเช้า อากาศสดชื่นบนที่ราบสูง ป่าสนธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ วิถีชีวิตชาวเขาปากะญอ โครงการเกษตรต่างๆ แต่ที่บ้านวัดจันทร์นี้ไม่เหมาะกับคนที่เบื่อการนั่งรถ และชอบความสะดวกสบาย

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติกีฬาเอเชี่ยนเกมส์

%2525B8%255B1%255D.jpg">

เอเชียนเกมส์ (Asian Games) เป็นมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของทวีปเอเชีย จัดการแข่งขันทุกๆ 4 ปี กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ถือกำเนิดมาจากการจัดแข่งขันกีฬา "แชมเปี้ยนแห่งภาคตะวันออกไกล" (Far Eastern Championship Games) โดยบุคคลกลุ่มหนึ่งในภาคพื้นเอเชีย แต่การแข่งขันก็ได้เลิกราไปด้วยสภาพปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจในขณะนั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2490 การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในภาคพื้นเอเชียก็ได้เกิดขึ้นภายใต้ชื่อของการแข่งขันว่า "เอเชียนเกมส์" ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของ ดร.จี. ดี. สนธิ (Dr.G.D.Sondhi) คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศอินเดีย ทั้งนี้โดยมีความเห็นว่า จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทุกครั้งที่ผ่านมา ประเทศในแถบเอเชียมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันน้อยมาก เนื่องจากนักกีฬาเอเชียมีความเสียเปรียบนักกีฬาจากประเทศยุโรปและอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหรือมาตรฐานการกีฬา จึงคิดที่จะยกระดับมาตรฐานการกีฬาของประเทศในกลุ่มเอเชียให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกับนักกีฬาในกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะประการสำคัญที่สุดคือสานสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในภาคพื้นเอเชีย เนื่องจากในช่วงเวลานั้นประเทศในกลุ่มเอเชียหลายประเทศ มีความแตกต่างกันในทางเศรษฐกิจและความคิดเห็นทางการเมือง


ผู้เข้าแข่งขันเข้าแข่งโดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (National Olympic Committee - NOC) เพื่อเป็นตัวแทนความเป็นพลเมืองของประเทศแต่ละประเทศ การใช้เพลงชาติ และธงชาติพร้อมด้วยพิธีมอบเหรียญรางวัล และตารางการแข่งขันได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปแล้วจะมีแต่ละประเทศจะมีเพียงตัวแทนเดียว แต่บางประเทศที่ยังไม่ได้รับอิสระอย่างชัดเจนได้เข้าร่วมแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ไต้หวัน ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันในฐานะชาวจีนไต้หวัน เนื่องมาจากสถานภาพทางการเมืองของไต้หวัน

เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 15 จัดขึ้นที่โดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งจัดเมื่อวันที่ 1 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 จัดขึ้นที่กว่างโจว ประเทศจีน วันที่ 12 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553




วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (อังกฤษ: Ferdinand Magellan), ฟีร์เนา ดี มากาลไยส์ (โปรตุเกส: Fernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (สเปน: Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย



มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง พ.ศ. 2062-2065 ของเขาเป็นการเดินเรือจาก
มหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่มหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก" เป็นครั้งแรก และยังเป็นการเดินทางรอบโลกครั้งแรกอีกด้วย แต่ตัวมาเจลลันเองไม่ได้เป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกตลอดเส้นทาง เนื่องจากถูกชนพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะมักตันในหมู่เกาะฟิลิปปินส์เสียก่อน (อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มาเจลลันเคยเดินทางจากยุโรปไปทางตะวันออกสู่คาบสมุทรมลายูมาแล้ว จึงเป็นนักสำรวจคนแรก ๆ ที่เดินทางข้ามเส้นเมอริเดียนเกือบทุกเส้นบนโลก) จากลูกเรือ 237 คนที่ออกเดินทางไปกับเรือ 5 ลำ มีเพียง 18 คนที่สามารถเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จและกลับไปสเปนได้ในปี พ.ศ. 2065[1][2] นำโดยควน เซบัสเตียน เอลกาโน นักเดินเรือชาวบาสก์ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการเดินเรือแทนมาเจลลัน ส่วนลูกเรือลำอื่น ๆ อีก 16 คนมาถึงสเปนในภายหลัง โดย 12 คนในจำนวนนี้ถูกโปรตุเกสคุมตัวที่หมู่เกาะเคปเวิร์ดระหว่าง พ.ศ. 2068-2070 และอีก 4 คนเป็นผู้รอดชีวิตจากเรือตรีนีดัดที่เดินทางไปด้วย แต่เรือแตกในหมู่เกาะโมลุกกะ



ชื่อของมาเจลลันยังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของ "เพนกวินมาเจลลัน" ซึ่งเชื่อกันว่าเขาเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบ,[3] "เมฆมาเจลลัน" ซึ่งเขาสังเกตเห็นระหว่างการเดินเรือ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าที่จริงเมฆนี้เป็นกลุ่มดาราจักรแคระใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือก, "ช่องแคบมาเจลลัน" เส้นทางที่มาเจลลันใช้เดินเรือเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และ "ยานมาเจลลัน" ยานสำรวจที่องค์การนาซาส่งไปสำรวจดาวศุกร์ในช่วงปี พ.ศ. 2533-2534

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม



ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพังเหยในเขต ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสระบุรี - ชัยบาดาล ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 205 เส้นทางชัยบาดาล - เทพสถิต - ชัยภูมิ ก่อนถึงอำเภอเทพสถิต จะมี ทางแยกซ้ายมือไปป่าหินงาม อีก 29 กิโลเมตร หากเดินทางเส้นทางจาก จ.นครราชสีมา ก็จะใช้เส้นทางนครราชสีมา - เพชรบูรณ์ โดยจะวิ่งผ่าน ต.หนองบัวโคก ผ่านบ.คำปิง เข้าสู่อำเภอเทพสถิต และเลี้ยวขวาบริเวณ สามแยกเพื่อจะไปในเส้นทาง เทพสถิต - ซับใหญ่ และหากท่านมาจากตัว เมืองชัยภูมิ ก็ต้องใช้เส้นทาง ระเหว - ซับใหญ่ - เทพสถิต เมื่อออกจากตัว กิ่งอ.ซับใหญ่จะถึงทางแยกขึ้นอุทยานฯ ก่อนที่จะถึง อ.เทพสถิต...
:: แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ::

ป่าหินงาม
"ป่าหินงาม" หรือ (ลานหินงาม) อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ทำการอุทยานฯ ทั่วบริวเวณเรียงรายไปด้วยหินก้อนน้อย ใหญ่ รูปร่างแปลก ๆ มากมายในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นลานหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะดิน และเนื้อหินทรายมานานนับลานปี วาง เรียงรายสลับซับซ้อน อยู่เต็มลานบ้างก็มีรูปรา่างเหมือนกับถ้วยฟุตบอลโลก บ้างก็เหมือนกบเรด้า และรูปต่าง ๆ แล้วแต่จะ จินตนาการ แต่เมื่อดูแล้วชวนให้เกิดความเพลิดเพลินใจเป็นยิ่งนัก...


ทุ่งดอกกระเจียว



"ทุ่งดอกกระเจียว" เกิดจากดอกกระเจียวป่า หลากหลายสายพันธุ์ ที่พร้อมใจกันขึ้นรายรอบบริเวณ ของอุทยานฯและจะมีอยู่บริเวณหนึ่งใช้พื้นที่หลายไร่ ที่จะมีดอกกระเจียวขึ้นอย่างหนาแน่นจนกลายเป็นทุ่ง ซึ่ง เวลามองดูก็จะเห็นเป็นสีชมพูปนขาว และมีสีเขียวของลำต้ันและก้านใบเป็นสีเขียวสด ประกอบกับสีเขียว ของหญ้าทีขึ้นมาแซม ทำให้ทุ่งกระเจียว เขียวขจี สวยงามเหมือนกับทุ่งในทรวงสวรรค์เลย โดยในช่วงฤดูฝน เริ่มต้นเดือนมิถุนายน ถึง ปลายเดือนกรกฎาคม ของทุก ๆ ปี ต้นกระเจียวจะออก ดอกสวยงามตระการตาไปทั่วผืนป่า จัดได้ว่าเป็น "นางเอกของอุทยานฯ" ก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะดอกกระเจียว จะไม่มีให้เห็นเลยนอกเสียจากในช่วงเวลาที่ว่านี่เท่านั้น...



จุดชมวิวสุดแผ่นดิน



"สุดแผ่นดิน" อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานฯ เป็นแนวหน้าผาและชะง่อนหิน เป็นจุดสูงสุดบนเทือกเขา พังเหย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 846 เมตร เกิดจากการดันตัวของแผ่นดินภาคกลาง (ฉานไทย) ซุกเข้าไปใต้แผ่นดิน อีสาน (อินโต - ไซน่า) ทำให้เกิดแผ่นดินที่ยกตัวสูงชัน เรียกว่า "สุดแผ่นดิน" คือเขตรอยต่อของ 3 ภาคอันได้แก่

-แผ่นดินซีกทางอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ชัยภูมิ (ภาคอีสาน)

-แผ่นดินซีกทางตะวันตกของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.ลพบุรี (ภาคกลาง)

-แผ่นดินซีกทางเหนือของอุทยานฯ เป็นเขตของ จ.เพชรบูรณ์ (ภาคเหนือ)ซึ่งมีความสวยงาม อากาศเย็นสบาย และในตอนเช้า ๆ จะมีกลุ่มหมอกลอยผ่านหน้าเราไป เหมือนกับหยอกเย้ากับผู้มาเยือนเลย

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

โทษของบุหรี่

สารประกอบในบุหรี่

บุหรี่มีสารประกอบต่างๆ อยู่ประมาณ 4000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารบางชนิดเป็นอันตรายที่สำคัญ คือ

นิโคติน
กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ ปริมาณนิโคตินลดลงได้)

ทาร์ หรือน้ำมันดิน
สารก่อมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด, กล่องเสียง, หลอดลม. หลอดอาหาร, ไต, กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ร้อยละ 50 ของน้ำมันดิน จะไปจับที่ปอด เกิดระคายเคือง ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ

คาร์บอนมอนอกไซด์
ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ เกิดการขาดออกซิเจน ทำให้ มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ

ไฮโดรเจนไซยาไนด์
ก๊าซพิษ ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำโดยเฉพาะตอน เช้า

ไนโตรเจนไดออกไซด์
ก๊าซพิษทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลม ทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพอง ถุงลมเล็กๆ หลายอันแตก รวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง

แอมโมเนีย
มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอมีเสมหะมาก

สารกัมมันตรังสี ์
ควันบุหรี่มีสารโพโลเนียม 210 ที่มีรังสีอัลฟาอยู่ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด


มะเร็งกล่องเสียง
มะเร็งปอด



ควันบุหรี่มีผลต่อบุคคลข้างเคียง

เด็ก
ทำให้เด็กในครอบครัวป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูชั้นนอกอักเสบเพิ่มมากขึ้น

หญิงมีครรภ์
น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติและมีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดระหว่างคลอด และหลังคลอดมากเป็น 2 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ และรกลอกตัว ก่อนกำหนดมากขึ้น ลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหรี่ อาจจะมีน้ำหนักและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางด้าน สมองช้ากว่าปกติ อาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท, ระบบความจำ

คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่
มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปีคนทั่วไป ควันบุหรี่จะทำให้เกิดอาการเคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะทำให้มีอาการของโรคเพิ่มมากขึ้น

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

'นอน'อย่างถูกท่าเพิ่มความงามแบบไม่รู้ตัว



การนอนหลับกับความงามเป็นสองเรื่อง
ที่สําคัญสําหรับสาวๆ ผู้รักความงามทั้งหลาย โดยผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าผิวสวยสามารถเสริมสร้างได้จากการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนของสมองและร่างกายที่ทํากิจกรรมมาทั้งวันและใช้เพื่อการซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังหรืออวัยวะที่สึกหรอต่างๆ จากการใช้พลังงาน จึงเป็นผลดีต่อทั้งด้านความงามและสุขภาพไปพร้อมๆ กัน

นายแพทย์กฤษธิพร เพ็งสุข ผู้เชี่วยชาญเรื่องผิวหนังและสุขภาพความงามแห่งศูนย์ความงาม นิรันดา คลินิก ได้กล่าวว่า




"การมีท่านอนที่สวยนั้นอาจเป็นภาพที่ดูสวย แต่ไม่ช่วยอะไรมากนัก สําหรับวิธีการนอนให้ถูกหลักอนามัย การนอนหงายเป็นท่านอนที่หลีกเลี่ยงการเกิดริ้วรอยบนใบหน้าได้ดีที่สุด การนอนตะแคงหรือการนอนคว่ำหน้านานๆ ทําให้เกิดแรงกดทับ ก่อให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้า โดยเฉพาะที่แก้มและคาง ที่เรียกว่า sleep line นอกจากนี้การนอนคว่ำยังทําให้เกิดรอยตีนกา Laughter lines ได้ง่าย เนื่องจากผิวบริเวณรอบดวงตาจะเป็นผิวที่บอบบางและเกิดริ้วรอยได้ง่ายมาก

นอกจากประโยชน์ด้านความงามแล้ว "ท่านอนหงาย" ยังเป็นท่าทางการนอนที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย เพราะเป็นท่านอนที่ไม่มีอะไรมากดทับหน้า อก ช่วยให้ระบบทางเดินหาย ใจทํางานได้อย่างคล่องตัวที่สุดเมื่อนอนหงาย กระดูกสันหลังได้รับการรองรับจากที่นอน ทําให้สามารถวางตัวอยู่ในแนวธรรมชาติได้ดีที่สุด เมื่อหลังแตะฟูกให้หลับในท่านอนหงายเหยียดยาว ชุดที่ไม่รัดพร้อมกับใช้หมอนใบเล็กรองใต้คอแทนหนุนใต้ศีรษะได้ยิ่งดี



การเหยียดแขนออกห่างตัว หรือไม่ก็งอศอกไว้เหนือศีรษะจะได้ไม่กีดขวางระบบทางเดินหายใจหรือสูบฉีดโลหิต"

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อาหารเพื่อสุขภาพ

อาหารเพื่อสุขภาพ


กีวีผลไม้มีประโยชน์



กีวีถือเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง วันนี้เรามีประโยชน์ที่ได้รับจากกีวีมาบอก...

แหล่งวิตามินซีในปริมาณสูงสุด

กีวีสีเขียวและกีวีโกลด์ หรือกีวีสีทอง กีวีทั้งสองชนิดมีปริมาณวิตามินซีสูงสุดถ้าเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น เช่น ส้ม หรือมะละกอ จากการวิจัยพบว่า กีวี หนึ่งผลมีวิตามินซีมากกว่าส้มหนึ่งลูกถึง 74% การรับประทานกีวีสองผลต่อวันจะช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินซีในร่างกายอย่างเห็นได้ชัด ช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันโรคซึ่งจะช่วยป้องกันไข้หวัด และซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอแถมยังกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ

อุดมด้วยโฟเลต สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลตมีบทบาทสำคัญในการสร้างสารพันธุกรรม จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กทารกและคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการเซลล์ใหม่เป็นจำนวนมาก การรับประทานโฟเลตเป็นประจำทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ จะช่วยทำให้ผิวและเซลล์เม็ดเลือดมีสุขภาพดี กีวีมีปริมาณโฟเลตสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับกล้วย มะม่วง สัปปะรด และแอปเปิ้ล โดยมากกว่ากล้วย 49% และมากกว่ามะม่วงถึง 112.8%

สุดยอดคุณค่าวิตามินอี

วิตามินอี มีคุณสมบัติช่วยชะลอความแก่ ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ลดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยในการไหลเวียนของเลือดอีกด้วย จากการวิจัยพบว่า กีวีมีปริมาณวิตามินอีสูงสุด โดยเฉพาะกีวีทอง จะมีวิตามินอีมากกว่ามะม่วงถึงหนึ่งเท่า

เต็มที่ด้วยพลังไฟเบอร์

ไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารเป็นสารที่ไม่ให้พลังงานในร่างกาย แต่สามารถทำให้อิ่มได้เร็วและนาน นอกจากนี้ ยังช่วยชำระล้างและปรับปรุงระบบย่อยอาหาร รวมถึงส่งเสริมให้หัวใจและร่างกายแข็งแรง กีวีเขียวหนึ่งผลมีปริมาณไฟเบอร์มากกว่ากล้วย 15% และมากกว่าแอปเปิ้ลและส้มถึง 25%


ประโยชน์จากยอดผัก
ทราบหรือไม่ว่า ยอดผักที่รับประทานกันเป็นประจำ มีประโยชน์หลากหลาย




ผักบุ้ง ยอดผักบุ้งเป็นที่รวมของวิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 วิตามินซี และใยอาหาร บำรุงสายตา

ผักกระเฉด มีวิตามิน ทั้งธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี ที่สำคัญยังมีเบต้าแคโรทีน อาหารของผิวสวยรวมอยู่ด้วย

ชะอม อุดมไปด้วยโปรตีนและวิตามินซี

ยอดกระถิน มีเบต้าแคโรทีน ที่ต่อต้านโรคมะเร็ง และผู้หญิงที่กำลังมีรอบเดือน ถ้ากินกระถินแล้วจะได้ธาตุเหล็กกลับไปสร้างเม็ดเลือดได้อีก

ตำลึง อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินซี

น้ำใบบัวบก’ ทำตาใสปิ๊ง!



อย่าเข้าใจว่า ใบบัวบก มีไว้ แก้ช้ำใน อย่างเดียว เพราะสรรพคุณทางยาตัวอื่น ๆ ที่อยู่ในผักใบเขียว ใบบัวบก ยังมีอีกเพียบ อาทิ บำรุงสายตา บำรุงสมอง ควบคุมระดับแรงดันโลหิตให้เป็นปกติ ลดภาวะความเป็นหมัน ช่วยชะลอความแก่

อย่าเข้าใจว่า ใบบัวบก มีไว้ แก้ช้ำใน อย่างเดียว เพราะสรรพคุณทางยาตัวอื่น ๆ ที่อยู่ในผักใบเขียว ใบบัวบก ยังมีอีกเพียบ อาทิ บำรุงสายตา บำรุงสมอง ควบคุมระดับแรงดันโลหิตให้เป็นปกติ ลดภาวะความเป็นหมัน ช่วยชะลอความแก่ ช่วยป้องกันร่างกายด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกาย แก้ช้ำใน บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะ แก้อาการเริ่มเป็นบิด ท้องร่วง เป็นยาขจัดเลือดเสีย แก้โรคผิวหนัง แก้พิษงูกัด ระดูขาว ดับพิษไข้ แก้อาเจียนเป็นเลือด และดีซ่าน เป็นต้น

บัวบก เป็นพืชปลูกง่าย มีประวัติการใช้ประโยชน์ทางยามานาน มีใช้ทั้งในตำราอายุรเวทของประเทศจีนและแพทย์แผนไทย พบมากในประเทศแถบยุโรป แอฟริกา อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา พบว่า ส่วนสำคัญที่มีคุณสมบัติพิเศษอยู่ที่ ส่วนของใบและราก

ศุกร์นี้ กินดี จึงหยิบเมนูสุขภาพทำได้ไม่ยากมาให้ลอง เมนูที่ว่าคือ น้ำใบบัวบก เตรียมส่วนผสม 3 อย่างคือ ใบบัวบก 10 กรัม, น้ำเปล่าต้มสุก 240 กรัม และน้ำเชื่อม 15 กรัม น้ำเชื่อมจะใส่มากใส่น้อย หรือไม่ใส่ก็ตามชอบ

มาถึงวิธีทำ ล้างใบบัวบกให้สะอาด นำใส่เครื่องปั่นเติมน้ำต้มสุกเล็กน้อย แล้วปั่นจนละเอียด คั้นกรองเอาแต่น้ำ เติมน้ำเชื่อมปรุงรสตามใจชอบ


มะม่วงสุก-เสาวรส เพื่อผิวกระจ่างใส





สูตรเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ รสชาติเย็นช่วยคลายร้อน ทั้งยังมีสรรพคุณล้างพิษ ช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างใส แลดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ ก็เพราะได้สารอาหารจาก มะม่วง ผลไม้แห่งฤดูกาลนี้

อากาศร้อนอบอ้าวอย่างนี้ กินดี เตรียมสูตรเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ รสชาติเย็นช่วยคลายร้อน ทั้งยังมีสรรพคุณล้างพิษ ช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างใส แลดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ ก็เพราะได้สารอาหารจาก มะม่วง ผลไม้แห่งฤดูกาลนี้ ยิ่งเลือกรับประทานผลที่สุก อร่อยยิ่งอย่าบอกใคร ในมะม่วงอุดมไปด้วยวิตามินบี 3 แมกนีเซียม โพแทสเซียม ทองแดง และเบตาแคโรทีน ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณได้เป็นอย่างดี

ส่วนผสมร่วมเติมสุขภาพให้ผิวยังมี เสาวรส อัดแน่นด้วยวิตามินซี และสารอาหารที่ใกล้เคียงกับมะม่วง อย่าง เบตาแคโรทีน แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และวิตามินบี 3

อีกอย่าง คือ แอปเปิ้ล ช่วยล้างพิษ และลดความตึงเครียด เพราะมีโพแทสเซียม กำมะถัน เหล็ก แมกนีเซียม วิตามินบี1 บี2 และบี6 โดยในสูตรนี้เลือกใช้แอปเปิ้ลแดง

สำหรับส่วนผสมที่ต้องเตรียม ประกอบด้วย...

แพชันฟรุต (เสาวรส) 1 ถ้วย
มะม่วงสุก 1 ถ้วย
แอปเปิ้ลแดง 2 ถ้วย
น้ำแข็งป่น 1 ถ้วย

ขั้นตอนการผสม เริ่มจากคว้านเอาแต่เนื้อและเมล็ดของแพชันฟรุตออกมาแล้วสับพอหยาบ ปอกเปลือกมะม่วงหั่นเป็นชิ้นขนาดพอประมาณ ต่อด้วยการหั่นแอปเปิ้ลพร้อมเปลือกเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าโดยไม่ต้องคว้านเอาแกนออก นำผลไม้ทั้ง 3 ชนิดไปสกัดด้วยเครื่องสกัดน้ำผักและผลไม้ เทใส่แก้วเติมน้ำแข็งป่นเพิ่มความเย็นสดชื่น ดื่มได้ทันที.


ทาน ‘งา’ ประจำ ทำลายความแก่!
งา ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง งาช้าง แต่หมายถึง งา อาหารที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์นานัปการ มุมสุขภาพ-กินดี วันนี้ จึงขอแนะนำให้ผู้อ่านทราบถึงคุณค่าของงา





งา ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง งาช้าง แต่หมายถึง งา อาหารที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์นานัปการ มุมสุขภาพ-กินดี วันนี้ จึงขอแนะนำให้ผู้อ่านทราบถึงคุณค่าของงา

เริ่มจาก งาดำ ที่ได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ มักอยู่ในรูปของส่วนผสมในเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ การรับประทานงาดำจะช่วยให้นอนหลับได้สนิท และตื่นนอนพร้อมความรู้สึกสดชื่นกระปรี้ประเปร่า ทั้งยังป้องกันเหน็บชา ป้องกันอาการท้องผูก บำรุงกระดูก และบำรุงรากผม ทำให้ผมดกดำ

ส่วน น้ำมันงาดิบ หากนำมาใช้นวดตัวเป็นประจำ ช่วยปรับระบบประสาท คลายกล้ามเนื้อ ชะลอความเสื่อมของผิวหนังและกล้ามเนื้อ ให้แลดูอ่อนเยาว์กว่าวัยอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม งา ถือเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินนานาชนิด เช่น บี1, 2, 3, 5, 6 และ 9 มีสรรพคุณในการช่วยย่อยไขมัน ลดคอเลสเตอรอล ทั้งยังมีวิตามินอี ซึ่งเป็นยาอายุวัฒนะ ชะลอความแก่ และเป็นอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็ง เหมาะกับทุกเพศทุกวัย

สำหรับเมนูสุขภาพที่ปรุงจากงา ทำไม่ยากที่จะแนะนำ คือ เกี๊ยวกรอบคลุกงา มีส่วนเพียงไม่กี่อย่าง ประกอบด้วย

แผ่นเกี๊ยว
งาขาว และงาดำ อย่างละ 4 ช้อนโต๊ะ
เกลือ พอประมาณ
น้ำมันพืชสำหรับทอด พอประมาณ

ส่วนขั้นตอนในการทำ เริ่มด้วยการนำงาทั้งสองชนิดมาผสมกัน นำแผ่นเกี๊ยวพรมน้ำเล็กน้อย จากนั้นโรยหน้าด้วยงาที่ผสมรอไว้ นำลงทอดในกระทะที่มีน้ำมัน 1 ใน 3 ทอดจนแผ่นเกี๊ยวฟูและเหลืองกรอบ ตักขึ้นซับน้ำมันแล้วโรยเกลือเล็กน้อย สามารถรับประทานพร้อมน้ำจิ้มรสหวาน หรือนำไปใส่ในสลัดผักก็ยังได้

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แม่ชีเทเรซา


ประวัติ
แม่ชีเทเรซา เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ที่เมืองสโกเปีย จักรวรรดิออตโตมัน (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศมาซิโดเนีย) เป็นบุตรคนสุดท้องของบิดานิโกลา (Nikola) กับมารดาเดรน (Drane Bojaxhiu) ครอบครัวชนชั้นกลางเชื้อสายอัลเบเนีย เธอมีชื่อเดิมว่า "แอ็กเนส กอนจา โบยาจู" (Agnes Gonxha Bojaxhiu) มีบิดาเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัดในหลักศาสนา ซึ่งทำให้ตั้งแต่วัยเด็กแอ็กเนสชอบไปโบสถ์ฟังหลวงพ่อเทศน์มาโดยตลอด

ขณะแอ็กเนสมีอายุ 9 ปี ในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) บิดาของเธอได้เสียชีวิตลง แต่ความอบอุ่นภายในครอบครัวที่แอ็กเนสได้รับก็ไม่ได้ลดลง ด้วยเพราะมารดายังให้ความรักความอบอุ่นและการเลี้ยงดูที่ดีมาตลอด แอ็กเนสเติบโตขึ้นเป็นเด็กร่าเริง และมีสุขภาพดี และไม่นานต่อมาเธอก็ได้รู้จักกับประเทศอินเดีย แต่ก็ได้รู้ว่าอินเดียในขณะนั้นมีระบบสาธารณูปโภคที่ยังล้าหลังอยู่มาก มีคนยากไร้มากมายในประเทศที่ต้องทนทรมาน และเริ่มสงสัยว่า จะมีวิธีใดบ้างไหมที่เธอจะได้ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากในอินเดีย ซึ่งในช่วงเวลานี้นี่เองที่แอ็กเนสเริ่มมีความคิดที่จะบวชเป็นแม่ชี [3]

ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แอ็กเนสตัดสินใจขออนุญาตครอบครัวเพื่อขอบวชเป็นแม่ชี ตอนแรกครอบครัวคัดค้าน แต่ต่อมาไม่กี่วันทางครอบครัวก็ยอมให้เธอบวช แอ็กเนสเดินทางไปบวชที่สำนักชีโลเรโต (Sisters of Loreto) ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งการลาจากจากครอบครัวของเธอในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้เห็นหน้าของแม่และน้องสาว [4] แอ็กเนสตั้งใจศึกษาเล่าเรียนวิชาที่แม่ชีพึงได้เรียนเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังประเทศอินเดียในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และได้เริ่มออกเผยแผ่คำสอนในเมืองดาร์จีลิง รัฐสิกขิม ทางเหนือของประเทศอินเดีย โดยเธอได้พักอยู่ที่สำนักชีโลเรโตที่ตั้งอยู่ที่เมืองดาร์จีลิง

พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แอ็กเนสตัดสินใจเข้าสาบานตนเป็นแม่ชีในสำนักชีโลเรโต ในเมืองดาร์ลีจิงเป็นครั้งแรก และตอนนี้เองที่แอ็กเนสได้รับสมญาทางศาสนา (ชื่อทางศาสนา) ว่า แม่ชีเทเรซา และแม่ชีเทเรซา ได้สาบานตนครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937)

หลังจากสาบานตนเป็นแม่ชีครั้งสุดท้ายแล้ว แม่ชีเทเรซาได้เข้าเป็นครูวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ในโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย ในเมืองเอนทาลี นครกัลกัตตา ไม่นาน ก็ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย พาตนเองและเหล่านักเรียนผ่านเหตุการณ์เลวร้าย ที่เกิดจากผลกระทบของเหตุการณ์รุนแรงและสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอินเดียมาได้ด้วยดี

[แก้] ภารกิจการกุศล
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ขณะที่แม่ชีเทเรซากำลังนั่งรถไฟกลับไปยังสำนักชีที่ทาร์จีลิง ระหว่างทางเธอก็ได้ยินพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งเนื้อหาที่พระเจ้าพูดกับแม่ชีเทเรซาในขณะนั้น ทำให้แม่ชีเทเรซาตัดสินใจขออนุญาตไปทำงานในสลัม เพื่อช่วยเหลือคนยากจน แต่การทำแบบนั้นถ้าหากทำโดยไม่ได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษจะถือว่ามีความผิดทางศาสนา แม่ชีเทเรซาจึงขอให้บาทหลวงใหญ่ (หัวหน้าบาทหลวง ในชุมชนหนึ่งๆ ซึ่งอาจอยู่ตั้งแต่ระดับเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ จะมีเพียงหนึ่งท่าน) ขอร้องไปยังพระสันตะปาปา ให้อนุญาตแม่ชีเทเรซาเป็นกรณีพิเศษ

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แม่ชีเทเรซาได้รับอนุญาตเป็นพิเศษให้ไปทำงานในสลัมได้ แต่ก่อนนั้นต้องให้มีความรู้เพียงพอเสียก่อน ซึ่งเธอก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาพยายาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองปัตนา รัฐพิหาร เมื่อศึกษาจบแม่ชีเทเรซาก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนกลางแจ้งในสลัม มีเด็กๆ ให้ความสนใจมาเรียนกันมามากมาย หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรียมาขอบวชเป็นผู้ช่วยแม่ชีเทเรซา โดยคนแรกที่มาขอบวช คือ "สวาชินี ดาส" เมื่อบวชแล้วได้รับสมญาทางศาสนาว่า "แม่ชีแอ็กเนส" และไม่นานก็มีศิษย์เก่ามาบวชเพิ่มอีกถึง 10 คน

ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) บาทหลวงใหญ่ได้ตั้งกลุ่มของแม่ชีเทเรซาให้เป็นองค์กรอิสระทางศาสนา มีชื่อว่า "คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า" (Missionaries of Charity) โดยแม่ชีเทเรซาได้เป็นหัวหน้าองค์กร ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาผู้คนส่วนใหญ่มักเรียกแม่ชีเทเรซาว่า คุณแม่เทเรซา (Mother Teresa)

วันหนึ่งแม่ชีเทเรซาได้คิดที่จะสร้างบ้านหลังหนึ่ง เพื่อให้ผู้หิวโหยที่นอนรอความตายอยู่ข้างถนนนั้นได้มานอนตายอย่างสงบ และด้วยเหตุนี้ท่านจึงขอยืมให้วัดกาลีของศาสนาฮินดูใช้เป็น "บ้านของผู้รอความตาย" (Home for the Dying) โดยเริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) แต่ชาวฮินดูพอสมควรที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คุณแม่เทเรซาซึ่งเป็นชาวคริสต์ จะมาใช้วัดของชาวฮินดูเป็นสถานที่ แต่เมื่อผู้บัญชาการตำรวจเข้าไปคุยกับคุณแม่เทเรซา ก็ได้ผลสรุปว่าคุณแม่เทเรซายังใช้สถานที่วัดกาลีอยู่ได้ต่อ

เมื่อปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีผู้ใจบุญบริจาคบ้านให้แก่คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า เพื่อให้ทางคณะฯ ได้ใช้งานบ้านให้เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่เทเรซาและส่วนรวม คุณแม่เทเรซาได้ตัดสินใจใช้บ้านหลังนี้ในการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตั้งชื่อว่า "บ้านเด็กใจบุญ" (Children's Home of the Immaculate Heart) [5]

พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) คุณแม่เทเรซาเริ่มใช้รถพยาบาลเคลื่อนที่ออกรักษาผู้ป่วยที่เป็นชาวไร่ชาวนา โดยโรคที่ชาวไร่ชาวนาป่วยมากที่สุดคือ โรคเรื้อน แต่ในช่วงนั้นสังคมอินเดียยังมองเห็นผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ผู้ป่วยโรคเรื้อนจึงคิดว่าคนเองไม่มีค่า คุณแม่เทเรซาจึงเริ่มคิดถึงปัญหานี้

พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ที่ทำการของแม่ชีเทเรซาที่อยู่นอกประเทศอินเดียเริ่มเปิดทำการ มีทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย

ไม่กี่ปีต่อมา ผู้ว่าการรัฐเบงกอลตะวันตกได้ให้คุณแม่เทเรซายืมใช้แปลงที่ดินที่เมืองอาซันซอลขนาด 140,000 ตารางเมตร (ประมาณ 87.5 ไร่) เพื่อให้ใช้เป็นสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อน คุณแม่เทเรซาได้แบ่งสรรที่ดินไว้อย่างลงตัว แต่ไม่มีเงินจะสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ได้ออกแบบไว้ คุณแม่เทเรซานั่งครุ่นคิดอยู่สักพักก็นึกขึ้นได้ว่าพระสันตะปาปาเคยมอบรถยนต์เปิดประทุนสีขาวบริสุทธิ์ชั้นดี ถ้าขายเฉยๆ จะได้ราคา 100,000 รูปี (ประมาณ 400,000 บาท) แต่นั่นยังไม่เพียงพอ คุณแม่เทเรซาตัดสินใจทำสลาก โดยเอารถคันนั้นเป็นรางวัล ทำสลาก 5,000 ใบ ขายสลากใบละ 100 รูปี (ประมาณ 400 บาท) ใครถูกรางวัลจะได้รับรถพระสันตะปาปาไป การขายสลากแบบนี้ คณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซา ได้รับเงินถึง 500,000 รูปี (ประมาณ 2,000,000 บาท) ในที่สุดคณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซาก็ได้สร้างที่ดินขนาดกว่า 80 ไร่ ให้เป็นหมู่บ้านในฝันของผู้ป่วยโรคเรื้อนได้สำเร็จใน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านสันติสุข" มีทั้งโรงพยาบาลและที่อยู่ทั้งสำหรับเหล่าแม่ชีและเหล่าผู้ป่วย มีผู้ป่วยโรคเรื้อนขอเข้ารับการรักษาที่หมู่บ้านสันติสุขนี้มากกว่า 15,000 คน

ไม่นานหลังจากนั้น แม่ชีเทเรซา ก็เปิดที่ทำการอีกแห่งหนึ่ง คราวนี้เป็นการนำกาบมะพร้าวมีรีไซเคิล โดยนำใยมะพร้าวด้านในมาผลิตเป็นสินค้า ตั้งแต่แปรงขัดหม้อ จนถึงพรมนุ่มๆ สินค้าบางชิ้นมีคุณภาพดี ก็สามารถนำไปขายในเมืองได้

ไม่นานต่อมา คุณแม่เทเรซาเมื่อรู้ว่า สายการบินต่างๆ จะจัดการอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือโดยการทิ้งทั้งหมด จึงไปขอให้บริษัทสายการบินแอร์อินเดีย มอบอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือมาเป็นอาหารแก่เด็กๆ ใน บ้านเด็กใจบุญ

ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) คุณแม่เทเรซาได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในฐานะ "สำหรับการอาสาต่อสู้เพื่อลดความยากจนทุกข์ยากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่ความสงบสุขและสันติ" (for work undertaken in the struggle to overcome poverty and distress, which also constitute a threat to peace.) นอกจากนี้ คุณแม่เทเรซาปฏิเสธงานเลี้ยงฉลองที่ท่านได้รับรางวัลโนเบล และขอใหผู้ที่ทำเค้กฉลองมาแล้ว นำเค้กไปมอบให้คนยากคนจน

คุณแม่เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งก็ได้ตระเวนปราศรัยไปตามที่ต่างๆ ในประเทศ เนื้อหาส่วนใหญ่คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคม การรังเกียจคนจรจัด การกลั่นแกล้งประทุษร้ายกันในญี่ปุ่น

พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) อิสราเอลมีสงครามกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ จนเกิดการสู้รบรุนแรงในแถบเอเชียตะวันตก คุณแม่เทเรซาก็เดินทางเข้าไปเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่ติดค้างในสถานที่ต่างๆ มาได้ 37 คน


แม่ชีเทเรซา รับของขวัญจากประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985)[แก้] บั้นปลายชีวิต
พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ขณะคุณแม่เทเรซาไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในอิตาลี ทานก็เริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจ และมีอาการกำเริบครั้งแรก โดยมีหัวใจเต้นอ่อนเกินไป แต่ปลอดภัย หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซาก็ทำงานอยู่เหมือนปกติ แต่อาการโรคหัวใจก็มาเยือนอยู่เรื่อยๆ จนในที่สุด คุณแม่เทเรซา ได้ยื่นจดหมายต่อพระสันตะปาปา ว่า ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า พร้อมกับอยากให้มีการเลือกตั้งขึ้นเพื่อเลือกผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งจากตน ตอนแรกเหล่าแม่ชีต่างคัดค้าน แต่เมื่อรู้ว่าคุณแม่เทเรซาจะให้จัดการเลือกตั้งผู้สืบทอดตำแหน่ง จึงเทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา แล้วผลการเลือกตั้งก็คือ คุณแม่เทเรซาก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นหัวหน้าคณะฯ อีกครั้ง

การทำงานของท่านก็มีอาการโรคหัวใจกำเริบมารบกวนท่านบ่อยขึ้น อาการป่วยในระดับหนักมากเกิดขึ้นกับแม่ชีเทเรซาอีกใน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และอีกครั้งใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซา ก็ป่วยหนักถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ ลุกนั่งไม่ได้

เมื่อคุณแม่เห็นว่าตนคงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) จึงได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้าอีกครั้ง ครั้งนี้เหล่าแม่ชีเห็นว่า คุณแม่เทเรซาควรได้พักผ่อน เพื่อต่อสู้กับโรคร้าย จึงไม่คัดค้านในการลาออกของคุณแม่เทเรซา และไม่เทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา เพื่อให้คุณแม่ได้พักรักษาตัวไม่ต้องมีภารกิจ ดังนั้นแม่ชีนิรุมาราได้รับเลือกเป็นหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้าแทนคุณแม่เทเรซา

5 เดือนครึ่งต่อมา ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) คุณแม่เทเรซาได้เสียชีวิตลงที่บ้านของคุณแม่ในอินเดีย ขณะอายุ 87 ปี กับอีก 10 วัน โดยคำพูดคำสุดท้ายที่คุณแม่ได้พูดออกมาคือ "หายใจไม่ออกแล้ว" [6] ทางการอินเดียได้จัดพิธีศพของคุณแม่เทเรซาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานศพระดับชาติ (งานศพของบุคคลที่ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อประเทศนั้นๆ) ของทางการอินเดีย

ในช่วงเวลาที่คุณแม่เสียชีวิต คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้ามีแม่ชีมากว่า 4,000 คนและอาสาสมัครกว่าอีก 1 แสนคน ซึ่งอัตรานี้ครอบคลุมไปถึงกว่า 610 แห่ง 123 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันร่างของแม่ชีนอนหลับอยู่ที่บ้านคุณแม่ในอินเดีย

Mother Teresa
From Wikipedia, the free encyclopedia
Jump to: navigation, search
Mother Teresa of Calcutta
Agnes Gonxha Bojaxhiu

Born 26 August 1910(1910-08-26)
Üsküb, Ottoman Empire (today's Skopje, Republic of Macedonia)
Died 5 September 1997 (aged 87)
Calcutta, India
Nationality Indian
Ethnicity Albanian
Citizenship India (1948–1997)
Occupation Catholic nun, humanitarian,[1] Christian missionary.[2]
Known for Missionaries of Charity
Successor Nirmala Joshi
Religion Catholic
Awards Nobel Peace Prize (1979)
Bharat Ratna (1980)
Presidential Medal of Freedom (1985)
Balzan Prize (1978)
Mother Teresa (26 August 1910 – 5 September 1997), born Agnes Gonxha Bojaxhiu[3] (pronounced [aɡˈnɛs ˈɡɔndʒe bɔjaˈdʒiu]), was a Catholic nun of Albanian[4][5] ethnicity and Indian citizenship,[6] who founded the Missionaries of Charity in Kolkata, India in 1950. For over 45 years she ministered to the poor, sick, orphaned, and dying, while guiding the Missionaries of Charity's expansion, first throughout India and then in other countries. Following her death she was beatified by Pope John Paul II and given the title Blessed Teresa of Calcutta.[7][8]

By the 1970s, she was internationally famed as a humanitarian and advocate for the poor and helpless, due in part to a documentary and book Something Beautiful for God by Malcolm Muggeridge. She won the Nobel Peace Prize in 1979 and India's highest civilian honour, the Bharat Ratna, in 1980 for her humanitarian work. Mother Teresa's Missionaries of Charity continued to expand, and at the time of her death it was operating 610 missions in 123 countries, including hospices and homes for people with HIV/AIDS, leprosy and tuberculosis, soup kitchens, children's and family counselling programs, orphanages, and schools.

She has been praised by many individuals, governments and organizations; however, she has also faced a diverse range of criticism. These include objections by various individuals and groups, including Christopher Hitchens, Michael Parenti, Aroup Chatterjee, Vishva Hindu Parishad, against the proselytizing focus of her work including a strong stance against contraception and abortion, a belief in the spiritual goodness of poverty and alleged baptisms of the dying. Medical journals also criticised the standard of medical care in her hospices and concerns were raised about the opaque nature in which donated money was spent.

Contents [hide]
1 Early life
2 Missionaries of Charity
3 International charity
4 Declining health and death
5 Recognition and reception
5.1 Reception in India
5.2 Reception in the rest of the world
6 Spiritual life
7 Miracle and beatification
8 Legacy and depictions in popular culture
8.1 Commemoration
8.2 Film and literature
9 See also
10 Notes and references
11 Further reading
12 External links


Early life

Part of a series on
Christianity
in India

Background
Nasrani

St. Thomas Christians
(history)
Ancient Crosses of India
Synod of Diamper
Coonan Cross Oath
People
St. Thomas the Apostle
St. Francis Xavier
St. Gonsalo Garcia
Devasahayam Pillai
St. Alphonsa Muttathupadam
Mar Augustine Kandathil
Thomas of Cana
Fr. Kuriakose Elias Chavara
Fr. Varghese Palakkappillil
Mar Sapor and Prodh
Marthoma Metrans
St. Baselios Eldho
St. Gregorios of Parumala

St. Geevarghese
Mar Dionysius
Alvares Mar Julius
William Carey
Mother Teresa
Churches
Andhra Evangelical Lutheran
Chaldean Syrian
Church of North India
Church of South India
Jacobite Syrian
Latin Catholic
Malankara
Malankara Orthodox Syrian
Malabar Independent Syrian
Mar Thoma
Presbyterian
St. Thomas Evangelical
Syro-Malabar Catholic
Syro-Malankara Catholic
Indian Christianity
portal
v • d • e
Agnes Gonxha Bojaxhiu (Gonxhe meaning "rosebud" in Albanian) was born on 26 August 1910, in Üsküb, Ottoman Empire (now Skopje, capital of the Republic of Macedonia). Although she was born on 26 August, she considered 27 August, the day she was baptized, to be her "true birthday."[9] She was the youngest of the children of a family from Shkodër, Albania, born to Nikollë and Drana Bojaxhiu.[10] Her father, who was involved in Albanian politics, died in 1919 when she was eight years old.[11] After her father's death, her mother raised her as a Roman Catholic. According to a biography by Joan Graff Clucas, in her early years Agnes was fascinated by stories of the lives of missionaries and their service, and by age 12 was convinced that she should commit herself to a religious life.[12] She left home at age 18 to join the Sisters of Loreto as a missionary. She never again saw her mother or sister.[13]

Agnes initially went to the Loreto Abbey in Rathfarnham, Ireland to learn English, the language the Sisters of Loreto used to teach school children in India.[14] She arrived in India in 1929, and began her novitiate in Darjeeling, near the Himalayan mountains.[15] She took her first religious vows as a nun on 24 May 1931. At that time she chose the name Teresa after Thérèse de Lisieux, the patron saint of missionaries.[16][17] She took her solemn vows on 14 May 1937, while serving as a teacher at the Loreto convent school in eastern Calcutta.[4][18]

Although Teresa enjoyed teaching at the school, she was increasingly disturbed by the poverty surrounding her in Calcutta.[19] The Bengal famine of 1943 brought misery and death to the city; and the outbreak of Hindu/Muslim violence in August 1946 plunged the city into despair and horror.[20]

Missionaries of Charity
On 10 September 1946, Teresa experienced what she later described as "the call within the call" while traveling to the Loreto convent in Darjeeling from Calcutta for her annual retreat. "I was to leave the convent and help the poor while living among them. It was an order. To fail would have been to break the faith."[21] She began her missionary work with the poor in 1948, replacing her traditional Loreto habit with a simple white cotton sari decorated with a blue border, adopted Indian citizenship, and ventured out into the slums.[22][23] Initially she started a school in Motijhil; soon she started tending to the needs of the destitute and starving.[24] Her efforts quickly caught the attention of Indian officials, including the prime minister, who expressed his appreciation.[25]

Teresa wrote in her diary that her first year was fraught with difficulties. She had no income and had to resort to begging for food and supplies. Teresa experienced doubt, loneliness and the temptation to return to the comfort of convent life during these early months. She wrote in her diary:

Our Lord wants me to be a free nun covered with the poverty of the cross. Today I learned a good lesson. The poverty of the poor must be so hard for them. While looking for a home I walked and walked till my arms and legs ached. I thought how much they must ache in body and soul, looking for a home, food and health. Then the comfort of Loreto [her former order] came to tempt me. 'You have only to say the word and all that will be yours again,' the Tempter kept on saying ... Of free choice, my God, and out of love for you, I desire to remain and do whatever be your Holy will in my regard. I did not let a single tear come.[26]
Teresa received Vatican permission on 7 October 1950 to start the diocesan congregation that would become the Missionaries of Charity.[27] Its mission was to care for, in her own words, "the hungry, the naked, the homeless, the crippled, the blind, the lepers, all those people who feel unwanted, unloved, uncared for throughout society, people that have become a burden to the society and are shunned by everyone." It began as a small order with 13 members in Calcutta; today it has more than 4,000 nuns running orphanages, AIDS hospices and charity centers worldwide, and caring for refugees, the blind, disabled, aged, alcoholics, the poor and homeless, and victims of floods, epidemics, and famine.[28]

In 1952 Mother Teresa opened the first Home for the Dying in space made available by the city of Calcutta. With the help of Indian officials she converted an abandoned Hindu temple into the Kalighat Home for the Dying, a free hospice for the poor. She renamed it Kalighat, the Home of the Pure Heart (Nirmal Hriday).[29] Those brought to the home received medical attention and were afforded the opportunity to die with dignity, according to the rituals of their faith; Muslims were read the Quran, Hindus received water from the Ganges, and Catholics received the Last Rites.[30] "A beautiful death," she said, "is for people who lived like animals to die like angels—loved and wanted."[30] Mother Teresa soon opened a home for those suffering from Hansen's disease, commonly known as leprosy, and called the hospice Shanti Nagar (City of Peace).[31] The Missionaries of Charity also established several leprosy outreach clinics throughout Calcutta, providing medication, bandages and food.

As the Missionaries of Charity took in increasing numbers of lost children, Mother Teresa felt the need to create a home for them. In 1955 she opened the Nirmala Shishu Bhavan, the Children's Home of the Immaculate Heart, as a haven for orphans and homeless youth.[32]

The order soon began to attract both recruits and charitable donations, and by the 1960s had opened hospices, orphanages and leper houses all over India. Mother Teresa then expanded the order throughout the globe. Its first house outside India opened in Venezuela in 1965 with five sisters.[33] Others followed in Rome, Tanzania, and Austria in 1968; during the 1970s the order opened houses and foundations in dozens of countries in Asia, Africa, Europe and the United States.[34]

Her philosophy and implementation have faced some criticism. David Scott wrote that Mother Teresa limited herself to keeping people alive rather than tackling poverty itself.[35] She has also been criticized for her view on suffering: according to an article in the Alberta Report, she felt that suffering would bring people closer to Jesus.[36] The quality of care offered to terminally ill patients in the Homes for the Dying has been criticised in the medical press, notably The Lancet and the British Medical Journal, which reported the reuse of hypodermic needles, poor living conditions, including the use of cold baths for all patients, and an approach to illness and suffering that precluded the use of many elements of modern medical care, such as systematic diagnosis.[37] Dr. Robin Fox, editor of The Lancet, described the medical care as "haphazard", as volunteers without medical knowledge had to take decisions about patient care, because of the lack of doctors. He observed that her order did not distinguish between curable and incurable patients, so that people who could otherwise survive would be at risk of dying from infections and lack of treatment.[38]

The Missionaries of Charity Brothers was founded in 1963, and a contemplative branch of the Sisters followed in 1976. Lay Catholics and non-Catholics were enrolled in the Co-Workers of Mother Teresa, the Sick and Suffering Co-Workers, and the Lay Missionaries of Charity. In answer to the requests of many priests, in 1981 Mother Teresa also began the Corpus Christi Movement for Priests,[39] and in 1984 founded with Fr. Joseph Langford the Missionaries of Charity Fathers[40] to combine the vocational aims of the Missionaries of Charity with the resources of the ministerial priesthood. By 2007 the Missionaries of Charity numbered approximately 450 brothers and 5,000 nuns worldwide, operating 600 missions, schools and shelters in 120 countries.[41]

International charity
In 1982, at the height of the Siege of Beirut, Mother Teresa rescued 37 children trapped in a front line hospital by brokering a temporary cease-fire between the Israeli army and Palestinian guerrillas.[42] Accompanied by Red Cross workers, she traveled through the war zone to the devastated hospital to evacuate the young patients.[43]

When Eastern Europe experienced increased openness in the late 1980s, she expanded her efforts to Communist countries that had previously rejected the Missionaries of Charity, embarking on dozens of projects. She was undeterred by criticism about her firm stand against abortion and divorce stating, "No matter who says what, you should accept it with a smile and do your own work."

Mother Teresa traveled to assist and minister to the hungry in Ethiopia, radiation victims at Chernobyl, and earthquake victims in Armenia.[44][45][46] In 1991, Mother Teresa returned for the first time to her homeland and opened a Missionaries of Charity Brothers home in Tirana, Albania.

By 1996, she was operating 517 missions in more than 100 countries.[47] Over the years, Mother Teresa's Missionaries of Charity grew from twelve to thousands serving the "poorest of the poor" in 450 centers around the world. The first Missionaries of Charity home in the United States was established in the South Bronx, New York; by 1984 the order operated 19 establishments throughout the country.[48]

The spending of the charity money received has been criticized by some. Christopher Hitchens and the German magazine Stern have said Mother Teresa did not focus donated money on alleviating poverty or improving the conditions of her hospices, but on opening new convents and increasing missionary work.[49]

Additionally, the sources of some donations accepted have been criticized. Mother Teresa accepted donations from the autocratic and corrupt Duvalier family in Haiti and openly praised them. She also accepted 1.4 million dollars from Charles Keating, involved in the fraud and corruption scheme known as the Keating Five scandal and supported him before and after his arrest. The Deputy District Attorney for Los Angeles, Paul Turley, wrote to Mother Teresa asking her to return the donated money to the people Keating had stolen from, one of whom was "a poor carpenter". The donated money was not accounted for, and Turley did not receive a reply.[50]

Colette Livermore, a former Missionary of Charity, describes her reasons for leaving the order in her book Hope Endures: Leaving Mother Teresa, Losing Faith, and Searching for Meaning. Livermore found what she called Mother Teresa's "theology of suffering" to be flawed, despite being a good and courageous person. Though Mother Teresa instructed her followers on the importance of spreading the Gospel through actions rather than theological lessons, Livermore could not reconcile this with some of the practices of the organization. Examples she gives include unnecessarily refusing to help the needy when they approached the nuns at the wrong time according to the prescribed schedule, discouraging nuns from seeking medical training to deal with the illnesses they encountered (with the justification that God empowers the weak and ignorant), and imposition of "unjust" punishments, such as being transferred away from friends. Livermore says that the Missionaries of Charity "infantilized" its nuns by prohibiting the reading of secular books and newspapers, and emphasizing obedience over independent thinking and problem-solving.[51]

Declining health and death
Mother Teresa suffered a heart attack in Rome in 1983, while visiting Pope John Paul II. After a second attack in 1989, she received an artificial pacemaker. In 1991, after a battle with pneumonia while in Mexico, she suffered further heart problems. She offered to resign her position as head of the Missionaries of Charity. But the nuns of the order, in a secret ballot, voted for her to stay. Mother Teresa agreed to continue her work as head of the order.

In April 1996, Mother Teresa fell and broke her collar bone. In August she suffered from malaria and failure of the left heart ventricle. She had heart surgery but it was clear that her health was declining. When she fell ill, she made the controversial decision to be treated at a well-equipped hospital in California instead of one of her own clinics.[52] The Archbishop of Calcutta, Henry Sebastian D'Souza, said he ordered a priest to perform an exorcism on Mother Teresa with her permission when she was first hospitalized with cardiac problems because he thought she may be under attack by the devil.[53]

On 13 March 1997, she stepped down from the head of Missionaries of Charity. She died on 5 September 1997.

At the time of her death, Mother Teresa's Missionaries of Charity had over 4,000 sisters, and an associated brotherhood of 300 members, operating 610 missions in 123 countries.[citation needed] These included hospices and homes for people with HIV/AIDS, leprosy and tuberculosis, soup kitchens, children's and family counseling programs, personal helpers, orphanages, and schools. The Missionaries of Charity were also aided by Co-Workers, who numbered over 1 million by the 1990s.[54]

Mother Teresa lay in state in St Thomas, Kolkata for one week prior to her funeral, in September 1997. She was granted a state funeral by the Indian Government in gratitude for her services to the poor of all religions in India.[55]

Recognition and reception
Reception in India
Mother Teresa had first been recognised by the Indian government more than a third of a century earlier when she was awarded the Padma Shri in 1962. She continued to receive major Indian rewards in successive decades including, in 1972, the Jawaharlal Nehru Award for International Understanding and, in 1980, India's highest civilian award, the Bharat Ratna.[56]

Her official biography was authored by an Indian civil servant, Navin Chawla, and published in 1992.[57]

Indian views on Mother Teresa were not uniformly favourable. Her critic Aroup Chatterjee, who was born and raised in Calcutta but lived in London, reports that "she was not a significant entity in Calcutta in her lifetime". Chatterjee blames Mother Teresa for promoting a negative image of his home city.[58] Her presence and profile grated in parts of the Indian political world, as she often opposed the Hindu Right. The Bharatiya Janata Party clashed with her over the Christian Dalits, but praised her in death, sending a representative to her funeral. The Vishwa Hindu Parishad, on the other hand, opposed the Government's decision to grant her a state funeral. Its secretary Giriraj Kishore said that "her first duty was to the Church and social service was incidental" and accused her of favouring Christians and conducting "secret baptisms" of the dying. But, in its front page tribute, the Indian fortnightly Frontline dismissed these charges as "patently false" and said that they had "made no impact on the public perception of her work, especially in Calcutta". Although praising her "selfless caring", energy and bravery, the author of the tribute was critical of Mother Teresa's public campaigning against abortion and that she claimed to be non-political when doing so.[56] More recently, the Indian daily The Telegraph mentioned that "Rome has been asked to investigate if she did anything to alleviate the condition of the poor or just took care of the sick and dying and needed them to further a sentimentally moral cause."[59]

Reception in the rest of the world

President Ronald Reagan presents Mother Teresa with the Presidential Medal of Freedom at a White House ceremony, 1985In 1962, Mother Teresa received the Philippines-based Ramon Magsaysay Award for International Understanding, given for work in South or East Asia. The citation said that "the Board of Trustees recognizes her merciful cognizance of the abject poor of a foreign land, in whose service she has led a new congregation".[60] By the early 1970s, Mother Teresa had become an international celebrity. Her fame can be in large part attributed to the 1969 documentary Something Beautiful for God, which was filmed by Malcolm Muggeridge and his 1971 book of the same title. Muggeridge was undergoing a spiritual journey of his own at the time.[61] During the filming of the documentary, footage taken in poor lighting conditions, particularly the Home for the Dying, was thought unlikely to be of usable quality by the crew. After returning from India, however, the footage was found to be extremely well lit. Muggeridge claimed this was a miracle of "divine light" from Mother Teresa herself.[62] Others in the crew thought it was due to a new type of ultra-sensitive Kodak film.[63] Muggeridge later converted to Catholicism.

Around this time, the Catholic world began to honor Mother Teresa publicly. In 1971, Paul VI awarded her the first Pope John XXIII Peace Prize, commending her for her work with the poor, display of Christian charity and efforts for peace.[64] She later received the Pacem in Terris Award (1976).[65] Since her death, Mother Teresa has progressed rapidly along the steps towards sainthood, currently having reached the stage of having been beatified.

Mother Teresa was honoured by both governments and civilian organizations. She was appointed an honorary Companion of the Order of Australia in 1982, "for service to the community of Australia and humanity at large".[66] The United Kingdom and the United States each repeatedly granted awards, culminating in the Order of Merit in 1983, and honorary citizenship of the United States received on 16 November 1996. Mother Teresa's Albanian homeland granted her the Golden Honour of the Nation in 1994.[56] Her acceptance of this and another honour granted by the Haitian government proved controversial. Mother Teresa attracted criticism for implicitly giving support to the Duvaliers and to corrupt businessmen such as Charles Keating and Robert Maxwell. In Keating's case she wrote to the judge of his trial asking for clemency to be shown.[37][56]

Universities in both the West and in India granted her honorary degrees.[56] Other civilian awards include the Balzan Prize for promoting humanity, peace and brotherhood among peoples (1978),[67] and the Albert Schweitzer International Prize (1975).[68]

In 1979, Mother Teresa was awarded the Nobel Peace Prize, "for work undertaken in the struggle to overcome poverty and distress, which also constitutes a threat to peace." She refused the conventional ceremonial banquet given to laureates, and asked that the $192,000 funds be given to the poor in India,[69] stating that earthly rewards were important only if they helped her help the world's needy. When Mother Teresa received the prize, she was asked, "What can we do to promote world peace?" She answered "Go home and love your family." Building on this theme in her Nobel Lecture, she said: "Around the world, not only in the poor countries, but I found the poverty of the West so much more difficult to remove. When I pick up a person from the street, hungry, I give him a plate of rice, a piece of bread, I have satisfied. I have removed that hunger. But a person that is shut out, that feels unwanted, unloved, terrified, the person that has been thrown out from society—that poverty is so hurtable [sic] and so much, and I find that very difficult." She also singled out abortion as 'the greatest destroyer of peace in the world'.[70]

Towards the end of her life, Mother Teresa attracted some negative attention in the Western media. The journalist Christopher Hitchens has been one of her most active critics. He was commissioned to co-write and narrate the documentary Hell's Angel about her for the British Channel 4 after Aroup Chatterjee encouraged the making of such a program, although Chatterjee was unhappy with the "sensationalist approach" of the final product.[58] Hitchens expanded his criticism in a 1995 book, The Missionary Position.[71]

Chatterjee writes that while she was alive Mother Teresa and her official biographers refused to collaborate with his own investigations and that she failed to defend herself against critical coverage in the Western press. He gives as examples a report in The Guardian in Britain whose "stringent (and quite detailed) attack on conditions in her orphanages ... [include] charges of gross neglect and physical and emotional abuse",[72] and another documentary Mother Teresa: Time for Change? broadcast in several European countries.[58]

The German magazine Stern published a critical article on the first anniversary of Mother Teresa's death. This concerned allegations regarding financial matters and the spending of donations. The medical press has also published criticism of her, arising from very different outlooks and priorities on patients' needs.[37] Other critics include Tariq Ali, a member of the editorial committee of the New Left Review, and the Irish investigative journalist Donal MacIntyre.[71]

Her death was mourned in both secular and religious communities. In tribute, Nawaz Sharif, the Prime Minister of Pakistan said that she was "a rare and unique individual who lived long for higher purposes. Her life-long devotion to the care of the poor, the sick, and the disadvantaged was one of the highest examples of service to our humanity."[73] The former U.N. Secretary-General Javier Pérez de Cuéllar said: "She is the United Nations. She is peace in the world."[73] During her lifetime and after her death, Mother Teresa was consistently found by Gallup to be the single most widely admired person in the US, and in 1999 was ranked as the "most admired person of the 20th century" by a poll in the US. She out-polled all other volunteered answers by a wide margin, and was in first place in all major demographic categories except the very young.[74][75]

Spiritual life
Analyzing her deeds and achievements, John Paul II asked: "Where did Mother Teresa find the strength and perseverance to place herself completely at the service of others? She found it in prayer and in the silent contemplation of Jesus Christ, his Holy Face, his Sacred Heart."[76] Privately, Mother Teresa experienced doubts and struggles over her religious beliefs which lasted nearly fifty years until the end of her life, during which "she felt no presence of God whatsoever", "neither in her heart or in the eucharist" as put by her postulator Rev. Brian Kolodiejchuk.[77] Mother Teresa expressed grave doubts about God's existence and pain over her lack of faith:

Where is my faith? Even deep down ... there is nothing but emptiness and darkness ... If there be God—please forgive me. When I try to raise my thoughts to Heaven, there is such convicting emptiness that those very thoughts return like sharp knives and hurt my very soul ... How painful is this unknown pain—I have no Faith. Repulsed, empty, no faith, no love, no zeal, ... What do I labor for? If there be no God, there can be no soul. If there be no soul then, Jesus, You also are not true.[78]

Memorial plaque dedicated to Mother Teresa at a building in Wenceslas Square in Olomouc, Czech Republic.
Statue of Mother Teresa in Priština, Kosovo[a] .With reference to the above words, the Rev. Brian Kolodiejchuk, her postulator (the official responsible for gathering the evidence for her sanctification) indicated there was a risk that some might misinterpret her meaning, but her faith that God was working through her remained undiminished, and that while she pined for the lost sentiment of closeness with God, she did not question his existence.[79] Many other saints had similar experiences of religious doubt, or what Catholics believe to be spiritual tests, such as Mother Teresa's namesake, St. Therese of Lisieux, who called it a "night of nothingness."[79] Contrary to the mistaken belief by some that the doubts she expressed would be an impediment to canonization, just the opposite is true; it is very consistent with the experience of canonized mystics.[79]

Mother Teresa described, after ten years of doubt, a short period of renewed faith. At the time of the death of Pope Pius XII in the fall of 1958, praying for him at a requiem mass, she said she had been relieved of "the long darkness: that strange suffering." However, five weeks later, she described returning to her difficulties in believing.[80]

Mother Teresa wrote many letters to her confessors and superiors over a 66-year period. She had asked that her letters be destroyed, concerned that "people will think more of me—less of Jesus."[61][81] However, despite this request, the correspondences have been compiled in Mother Teresa: Come Be My Light (Doubleday).[61][78] In one publicly released letter to a spiritual confidant, the Rev. Michael van der Peet, she wrote, "Jesus has a very special love for you. [But] as for me, the silence and the emptiness is so great, that I look and do not see,—Listen and do not hear—the tongue moves [in prayer] but does not speak ... I want you to pray for me—that I let Him have [a] free hand."

Many news outlets have referred to Mother Teresa's writings as an indication of a "crisis of faith."[82] Some critics of Mother Teresa, such as Christopher Hitchens, view her writings as evidence that her public image was created primarily for publicity despite her personal beliefs and actions. Hitchens writes, "So, which is the more striking: that the faithful should bravely confront the fact that one of their heroines all but lost her own faith, or that the Church should have gone on deploying, as an icon of favorable publicity, a confused old lady who it knew had for all practical purposes ceased to believe?"[80] However, others such as Brian Kolodiejchuk, Come Be My Light's editor, draw comparisons to the 16th century mystic St. John of the Cross, who coined the term the "dark night of the soul" to describe a particular stage in the growth of some spiritual masters.[61] The Vatican has indicated that the letters would not affect her path to sainthood.[83] In fact, the book is edited by the Rev. Brian Kolodiejchuk, her postulator.[61]

In his first encyclical Deus Caritas Est, Benedict XVI mentioned Teresa of Calcutta three times and he also used her life to clarify one of his main points of the encyclical. "In the example of Blessed Teresa of Calcutta we have a clear illustration of the fact that time devoted to God in prayer not only does not detract from effective and loving service to our neighbour but is in fact the inexhaustible source of that service."[84] Mother Teresa specified that "It is only by mental prayer and spiritual reading that we can cultivate the gift of prayer."[85]

Although there was no direct connection between Mother Teresa's order and the Franciscan orders, she was known as a great admirer of St. Francis of Assisi.[86] Accordingly, her influence and life show influences of Franciscan spirituality. The Sisters of Charity recite the peace prayer of St. Francis every morning during thanksgiving after Communion and many of the vows and emphasis of her ministry are similar.[86] St. Francis emphasized poverty, chastity, obedience and submission to Christ. He also devoted much of his own life to service of the poor, especially lepers in the area where he lived.

Miracle and beatification
Blessed Teresa of Calcutta
Venerated in Roman Catholicism
Beatified 19 October 2003, St. Peter's Basilica, Rome by Pope John Paul II
Major shrine Mother House of the Missionaries of Charity, Calcutta, India
Feast 5 September
Patronage World Youth Day
After Mother Teresa's death in 1997, the Holy See began the process of beatification, the third step toward possible canonization. This process requires the documentation of a miracle performed from the intercession of Mother Teresa.

In 2002, the Vatican recognized as a miracle the healing of a tumor in the abdomen of an Indian woman, Monica Besra, after the application of a locket containing Mother Teresa's picture. Besra said that a beam of light emanated from the picture, curing the cancerous tumor. Critics—including some of Besra's medical staff and, initially, Besra's husband—insisted that conventional medical treatment had eradicated the tumor.[87] Dr. Ranjan Mustafi, who told The New York Times he had treated Besra, said that the cyst was not cancer at all but a cyst caused by tuberculosis. He insisted, "It was not a miracle…. She took medicines for nine months to one year."[88]

An opposing perspective of the claim is that Besra's medical records contain sonograms, prescriptions, and physicians' notes that could prove whether the cure was a miracle or not. Besra has claimed that Sister Betta of the Missionaries of Charity is holding them. The publication has received a "no comments" statement from Sister Betta. The officials at the Balurghat Hospital where Besra was seeking medical treatment have claimed that they are being pressured by the Catholic order to declare the cure a miracle.[89]

Christopher Hitchens was the only witness called by the Vatican to give evidence against Mother Teresa's beatification and canonization process, because the Vatican had abolished the traditional "devil's advocate" role, which fulfilled a similar purpose.[90] Hitchens has argued that "her intention was not to help people," and he alleged that she lied to donors about the use of their contributions. “It was by talking to her that I discovered, and she assured me, that she wasn't working to alleviate poverty,” says Hitchens. “She was working to expand the number of Catholics. She said, ‘I'm not a social worker. I don't do it for this reason. I do it for Christ. I do it for the church.’”[91]

In the process of examining Teresa's suitability for beatification and canonization, the Roman Curia (the Vatican) pored over a great deal of documentation of published and unpublished criticism of her life and work. Vatican officials say Hitchens's allegations have been investigated by the agency charged with such matters, the Congregation for the Causes of Saints, and they found no obstacle to Mother Teresa's beatification. Because of the attacks she has received, some Catholic writers have called her a sign of contradiction.[92] The beatification of Mother Teresa took place on 19 October 2003, thereby bestowing on her the title "Blessed."[93]

A second miracle is required for her to proceed to canonization.

Legacy and depictions in popular culture
Commemoration
Main article: Commemorations of Mother Teresa
Mother Teresa inspired a variety of commemorations. She has been memorialized through museums, been named patroness of various churches, and had various structures and roads named after her. Various tributes have been published in Indian newspapers and magazines authored by her biographer, Navin Chawla.[94][95][96][97][98][99][100]

Film and literature
Mother Teresa is the subject of the 1969 documentary film and 1971 book Something Beautiful for God by Malcolm Muggeridge.

Mother Teresa: In the Name of God's Poor is a 1997 film directed by Kevin Connor starring Geraldine Chaplin. It won an award at the 1998 Art Film Festival.

Mother Teresa's life was portrayed in the 2003 Italian television miniseries Madre Teresa starring Olivia Hussey as Mother Teresa. It was later released internationally as a television film Mother Teresa of Calcutta and received a CAMIE award in 2007.

See also
Saints portal
Missionaries of Charity
Kalighat Home for the Dying
Mother Teresa Memorial House
The Missionary Position (book), Christopher Hitchens' book criticizing Teresa
Christopher Hitchens' critiques of Mother Teresa
List of female Nobel laureates
Notes and references
Notes:

a. ^ Kosovo is the subject of a territorial dispute between the Republic of Serbia and the self-proclaimed Republic of Kosovo. The Assembly of Kosovo declared its independence on 17 February 2008, while Serbia claims it as part of its own sovereign territory. Kosovo is recognised by 69 of the 192 UN member states.

References:

^ PBS Online Newshour (5 September 1997). Mother Teresa Dies, www.pbs.org. Retrieved August, 2007
^ Mother Teresa EBCOhost Library Sponsored Research Content
^ "Blessed Mother Teresa". (2007). Encyclopædia Britannica. Retrieved 4 July 2010.
^ a b Spink, Kathryn (1997). Mother Teresa: A Complete Authorized Biography. New York. HarperCollins, pp.16. ISBN 0-06-250825-3.
^ Mother Teresa of Calcutta (1910–1997)
^ Mother Teresa | Humanitarian
^ Associate Press. (14 October 2003). "Full house for Mother Teresa ceremony". CNN. Retrieved 30 May 2007.
^ "Blessed Mother Teresa". (2007). Encyclopædia Britannica. Retrieved 30 May 2007.
^ (2002) "Mother Teresa of Calcutta (1910–1997)". Vatican News Service. Retrieved 30 May 2007.
^ Lester, Meera (2004). Saints' Blessing. Fair Winds. pp. 138. ISBN 1592330452. http://books.google.com/?id=HSg6f3JaN1IC&pg=PA139&lpg=PA139&dq=Nikolle+bojaxhiu. Retrieved 2008-12-14.
^ Although some sources state that she was 10 when her father died, in an interview with her brother, the Vatican documents her age at the time as "about eight". Citation needed
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 24. ISBN 1-55546-855-1.
^ Sharn, Lori (5 September 1997). "Mother Teresa dies at 87". USA Today. Retrieved 30 May 2007
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 28–29. ISBN 1-55546-855-1.
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 31. ISBN 1-55546-855-1.
^ Sebba, Anne (1997).Mother Teresa: Beyond the Image. New York. Doubleday, p.35. ISBN 0-385-48952-8.
^ Blessed Mother Teresa of Calcutta and St. Therese of Lisieux: Spiritual Sisters in the Night of Faith
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 32. ISBN 1-55546-855-1.
^ Spink, Kathryn (1997). Mother Teresa: A Complete Authorized Biography. New York. HarperCollins, pp.18–21. ISBN 0-06-250825-3.
^ Spink, Kathryn (1997). Mother Teresa: A Complete Authorized Biography. New York. HarperCollins, pp.18, 21–22. ISBN 0-06-250825-3.
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 35. ISBN 1-55546-855-1.
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 39. ISBN 1-55546-855-1.
^ "Blessed Mother Teresa". Encyclopædia Britannica Online. Encyclopædia Britannica. http://www.britannica.com/eb/article-9071751. Retrieved 2007-12-20.
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 48–49. ISBN 1-55546-855-1.
^ Williams, Paul (2002). Mother Teresa. Indianapolis. Alpha Books, p. 57. ISBN 0-02-864278-3.
^ Spink, Kathryn (1997). Mother Teresa: A Complete Authorized Biography. New York. HarperCollins, pp.37. ISBN 0-06-250825-3.
^ Williams, Paul (2002). Mother Teresa. Indianapolis. Alpha Books, p. 62. ISBN 0-02-864278-3.
^ Spink, Kathryn (1997). Mother Teresa: A Complete Authorized Biography. New York. HarperCollins, pp.284. ISBN 0-06-250825-3.
^ Sebba, Anne (1997).Mother Teresa: Beyond the Image. New York. Doubleday, pp. 58–60. ISBN 0-385-48952-8.
^ a b Spink, Kathryn (1997). Mother Teresa: A Complete Authorized Biography. New York. HarperCollins, pp.55. ISBN 0-06-250825-3.
^ Sebba, Anne (1997).Mother Teresa: Beyond the Image. New York. Doubleday, pp. 62–63. ISBN 0-385-48952-8.
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 58–59. ISBN 1-55546-855-1.
^ Spink, Kathryn (1997). Mother Teresa: A Complete Authorized Biography. New York. HarperCollins, pp.82. ISBN 0-06-250825-3.
^ Spink, Kathryn (1997). Mother Teresa: A Complete Authorized Biography. New York. HarperCollins, pp.286–287. ISBN 0-06-250825-3.
^ Scott, David A Revolution of Love: The Meaning of Mother Teresa Chicago, Loyola Press, 2005. ISBN 0829420312 p.7ff "She deals only with the disease (of poverty), but not with preventing it, but people in the West continue to give her money"
^ Byfield, Ted (20 October 1997). "If the real world knew the real Mother Teresa there would be a lot less adulation". Alberta Report/Newsmagazine 24 (45)
^ a b c Loudon, Mary. (1996)The Missionary Position: Mother Teresa in Theory and Practice, Book Review, BMJ vol.312, no.7022, 6 January 2006, pp.64–5. Retrieved 2 August 2007
^ Fox, Robin (1994). "Mother Theresa's care for the dying". The Lancet 344 (8925): 807
^ God's People Yearn For Holy Priests, Founded by Blessed Mother Teresa of Calcutta. Corpus Christi Movement for Priests. Retrieved 2 August 2007.
^ The Religious Community of priests founded by Mother Teresa. Missionaries of Charity Fathers. Retrieved 2 August 2007.
^ Slavicek, Louise (2007). Mother Teresa. New York; Infobase Publishing, pp. 90–91. ISBN 0791094332.
^ CNN Staff, "Mother Teresa: A Profile", retrieved from CNN online on 30 May 2007
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 17. ISBN 1-55546-855-1.
^ Cooper, Kenneth J. (14 September 1997). "Mother Teresa Laid to Rest After Multi-Faith Tribute". The Washington Post. Retrieved 30 May 2007
^ (30 May 2007) "A Vocation of Service". Eternal Word Television Network. Retrieved 2 August 2007.
^ Embassy of India in Armenia Official Website. Describes how Mother Teresa journeyed to Armenia in December 1988 following the great earthquake. She and her order established an orphanage there. Retrieved 30 May 2007.
^ Williams, Paul (2002).Mother Teresa. Indianapolis. Alpha Books, pp. 199–204. ISBN 0-02-864278-3.
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 104. ISBN 1-55546-855-1.
^ Hitchens, Christopher (20 October 2003). "Mommie Dearest". Slate Magazine. Retrieved 30 May 2007.
^ Hitchens, Christopher (1995). The Missionary Position. London: Verso. pp. 4, 64–71.
^ KERA's Think Podcast: Leaving Mother Teresa, Losing Faith, and Searching for Meaning. 15 December 2008.
^ Irish Independent http://www.independent.ie/unsorted/features/easter-the-church-and-the-same-party-line-42461.html
^ Bindra, Satinder (7 September 2001). "Archbishop: Mother Teresa underwent exorcism". CNN Retrieved 30 May 2007.
^ "Mother Teresa – The Nobel Peace Prize 1979". Nobel Prize.org. The Nobel Foundation. 1979. http://nobelprize.org/nobel_prizes/peace/laureates/teresa-bio.html. Retrieved 2009-10-15.
^ Associated Press (14 September 1997). ""India honors nun with state funeral". Archived from the original on 2005-03-06. http://web.archive.org/web/20050306224148/http://www.chron.com/cgi-bin/auth/story/content/chronicle/page1/97/09/14/teresa.html. ". Houston Chronicle. Retrieved 30 May 2007.
^ a b c d e Parvathi Menon Cover story: A life of selfless caring, Frontline, Vol.14 :: No. 19 :: 20 September–3 October 1997
^ "Mother Teresa: The Authorized Biography" ISBN 978-0756755485.
^ a b c Chatterjee, Aroup, Introduction to The Final Verdict
^ Victor Banerjee A Canopy most fatal, The Telegraph, Sunday, 8 September 2002.
^ Ramon Magsaysay Award Foundation (1962) Citation for Mother Teresa.
^ a b c d e "Mother Teresa's Crisis of Faith". Time. 2007-08-23. http://www.time.com/time/world/article/0,8599,1655415,00.html. Retrieved 2007-08-24.
^ Sebba, Anne (1997). Mother Teresa: Beyond the Image. New York. Doubleday, pp. 80–84. ISBN 0-385-48952-8.
^ Alpion, Gezmin (2007). Mother Teresa: Saint or Celebrity?. Routledge Press, pp. 9. ISBN 0415392462.
^ Clucas, Joan Graff. (1988). Mother Teresa. New York. Chelsea House Publications, pp. 81–82. ISBN 1-55546-855-1.
^ Quad City Times staff (17 October 2005). "Habitat official to receive Pacem in Terris honor". Peace Corps. Retrieved 26 May 2007.
^ It's an Honour: AC
^ Mother Teresa of Calcutta, Fondazione Internazionale Balzan, 1978 Balzan Prize for Humanity, Peace and Brotherhood among Peoples. Retrieved 26 May 2007.
^ Jones, Alice & Brown, Jonathan (7 March 2007). "Opposites attract? When Robert Maxwell met Mother Teresa". The Independent. Retrieved 26 May 2007.
^ Locke, Michelle for the Associated Press (22 March 2007). "Berkeley Nobel laureates donate prize money to charity". San Francisco Gate. Retrieved 26 May 2007
^ Mother Teresa (11 December 1979). "Nobel Prize Lecture". NobelPrize.org. Retrieved 25 May 2007.
^ a b MacIntyre, Donal (22 August 2005). New Statesman 134 (4754): pp. 24–25. http://www.newstatesman.com/200508220019
^ "Sins of the Missions.". The Guardian. 14 October 1996.
^ a b (16 October 2006) Online Memorial Tribute to Mother Teresa. ChristianMemorials.com. Retrieved 2 August 2007.
^ Frank Newport (31 December 1999). Mother Teresa Voted by American People as Most Admired Person of the Century
^ Greatest of the Century Gallup/CNN/USA Today Poll. 20–21 December 1999.
^ John Paul II (20 October 2003). "Address Of John Paul II To The Pilgrims Who Had Come To Rome For The Beatification Of Mother Teresa". Vatican.va. http://www.vatican.va/holy_father/john_paul_ii/speeches/2003/october/documents/hf_jp-ii_spe_20031020_pilgrims-mother-teresa_en.html. Retrieved 2007-03-13.
^ David Van Biema (2007-08-23). "Mother Teresa's Crisis of Faith". TIME. http://www.time.com/time/world/article/0,8599,1655415,00.html.
^ a b Teresa, Mother; Kolodiejchuk, Brian (2007). Mother Teresa: Come Be My Light. New York: Doubleday. ISBN 0385520379. http://books.google.com/?id=EVaPAgAACAAJ&dq=Mother+Teresa:+Come+Be+My+Light.
^ a b c New Book Reveals Mother Teresa's Struggle with Faith Beliefnet, AP 2007
^ a b "Hitchens Takes on Mother Teresa". Newsweek. http://www.newsweek.com/id/38603. Retrieved 2008-12-11.
^ "Mother Teresa's Crisis of Faith". Sun Times. http://www.suntimes.com/news/metro/524638,CST-NWS-mother24.article. Retrieved 2007-08-26. [dead link]
^ "Mother Teresa's Crisis of Faith". Daily Telegraph (London). http://www.telegraph.co.uk/news/main.jhtml?xml=/news/2002/11/29/wteres29.xml. Retrieved 2007-08-26.
^ Moore, Malcolm (2007-08-24). "Mother Teresa's canonisation not at risk". Daily Telegraph (London). http://www.telegraph.co.uk/news/main.jhtml?xml=/news/2007/08/24/wteresa224.xml. Retrieved 2007-08-26.
^ Pope Benedict XVI (25 December 2005). Deus Caritas Est. (PDF). Vatican City, pp.10. Retrieved 2 August 2007.
^ Mother Teresa (197). No Greater Love. New World Library. ISBN 9781577312017. http://books.google.com/?id=e9-Jvizc9IUC&pg=PA5&lpg=PA5&dq=mental+prayer. Retrieved 2007-08-12.
^ a b "Mother Teresa of Calcutta Pays Tribute to St. Francis of Assisi" on the American Catholic website, retrieved 30 May 2007.
^ Orr, David (10 May. 2003). "Medicine cured 'miracle' woman – not Mother Teresa, say doctors". The Telegraph. Retrieved 30 May 2007.
^ "Her Legacy: Acceptance and Doubts of a Miracle", by David Rohde. The New York Times. 20 October 2003
^ Anonymous (14 October. 2002)."What's Mother Teresa Got to Do with It?". Time Magazine. Retrieved 10 October 2008.
^ Hitchens, Christopher (6 January 1996). "Less than Miraculous". Free Inquiry Magazine. Volume 24, Number 2.
^ The Debate Over Sainthood. (9 October 2003). CBS News. Retrieved 26 May 2007.
^ Shaw, Russell. (1 September 2005). Attacking a Saint, Catholic Herald. Retrieved 1 May 2007.
^ Vatican news release
^ "The miracle of faith"
^ "Memories of Mother Teresa"
^ " Touch the Poor...
^ " The path to Sainthood "
^ " In the shadow of a saint
^ "Mission Possible"
^ " Mother Teresa and the joy of giving
Navin Chawla. Mother Teresa: The Authorized Biography. Diane Pub Co. (March 1992). ISBN 978-0756755485. First published by Sinclair-Stevenson, U.K. (1992), since translated into 14 languages in India and abroad. Indian language editions include Hindi, Bengali, Gujarati, Malayalam, Tamil, Telugu, and Kannada. The foreign language editions include French, German, Dutch, Spanish, Italian, Polish, Japanese, and Thai. In both Indian and foreign languages, there have been multiple editions. The bulk of royalty income goes to charity.
Eileen Egan and Kathleen Egan, OSB. Prayertimes with Mother Teresa: A New Adventure in Prayer, Doubleday, 1989. ISBN 978-0385-26231-6.
Brian Kolodiejchuk (ed.). Mother Teresa: Come be My Light, Doubleday, 2007, ISBN 978-0385-52037-9.
Raghu Rai and Navin Chawla. Faith and Compassion: The Life and Work of Mother Teresa. Element Books Ltd. (December 1996). ISBN 978-1852309121. Translated also into Dutch and Spanish.
Further reading
Alpion, Gezim. Mother Teresa: Saint or Celebrity?. London: Routledge Press, 2007. ISBN 0-415-39247-0
Benenate, Becky and Joseph Durepos (eds). Mother Teresa: No Greater Love (Fine Communications, 2000) ISBN 1-56731-401-5
Bindra, Satinder (2001-09-07). "Archbishop: Mother Teresa underwent exorcism". CNN.com World. http://archives.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/south/09/04/mother.theresa.exorcism/index.html. Retrieved 2006-10-23.
Chatterjee, Aroup. Mother Teresa: The Final Verdict (Meteor Books, 2003). ISBN 81-88248-00-2, [http://www.meteorbooks.com/index.html introduction and first three chapters of fourteen (without pictures). Critical examination of Agnes Bojaxhiu's life and work.
Chawla, Navin. Mother Teresa. Rockport, Mass: Element Books, 1996. ISBN 1-85230-911-3
Chawla, Navin. Mother Teresa: The Authorized Biography, Diane Pub Co. (March 1992), ISBN 978-0756755485.
Chawla, Navin. The miracle of faith, article in the Hindu dated 25 August 2007 " The miracle of faith"
Chawla, Navin. Memories of Mother Teresa, article in the Hindu dated 26 August 2006 " Memories of Mother Teresa"
Chawla, Navin. Touch the Poor... – article in India Today dated 15 September 1997 " Touch the Poor..."
Chawla, Navin. The path to Sainthood, article in The Hindu dated Saturday, 4 October 2003 " The path to Sainthood "
Chawla, Navin. In the shadow of a saint, article in The Indian Express dated September, 05, 2007 " In the shadow of a saint "
Chawla, Navin. Mission Possible, article in India Today dated 21 April 2008 "Mission Possible"
Chawla, Navin. Mother Teresa and the joy of giving, article in The Hindu dated 26 August 2008 " Mother Teresa and the joy of giving"
Clucas, Joan. Mother Teresa. New York: Chelsea House, 1988. ISBN 1-55546-855-1
Dwivedi, Brijal. Mother Teresa: Woman of the Century
Hitchens, Christopher. The Missionary Position: Mother Teresa in Theory and Practice. London: Verso, 1996. ISBN 1-85984-054-X
Le Joly, Edward. Mother Teresa of Calcutta. San Francisco: Harper & Row, 1983. ISBN 0-06-065217-9.
Muggeridge, Malcolm. Something Beautiful for God. ISBN 0-06-066043-0.
Muntaykkal, T.T. Blessed Mother Teresa: Her Journey to Your Heart. ISBN 1-903650-61-5. ISBN 0-7648-1110-X. "Book Review". Archived from the original on 2006-02-09. http://web.archive.org/web/20060209154430/http://www.fish.co.uk/culture/books/1203/051203_mother_theresa.htm. .
Scott, David. A Revolution of Love: The Meaning of Mother Teresa. Chicago: Loyola Press, 2005. ISBN 0829420312.
Sebba, Anne. Mother Teresa: Beyond the Image. New York: Doubleday, 1997. ISBN 0-385-48952-8.
Slavicek, Louise. Mother Teresa. New York: Infobase Publishing, 2007. ISBN 0791094332.
Spink, Kathryn. Mother Teresa: A Complete Authorized Biography. New York: HarperCollins, 1997. ISBN 0-06-250825-3.
Teresa, Mother et al., Mother Teresa: In My Own Words. Gramercy Books, 1997. ISBN 0-517-20169-0.
Teresa, Mother & Kolodiejchuk, Brian, Mother Teresa: Come Be My Light, New York: Doubleday, 2007. ISBN 0385520379.
Williams, Paul. Mother Teresa. Indianapolis: Alpha Books, 2002. ISBN 0-02-864278-3.
Wüllenweber, Walter. "Nehmen ist seliger denn geben. Mutter Teresa—wo sind ihre Millionen?" Stern (illustrated German weekly), 10 September 1998. English translation.
External links
Wikimedia Commons has media related to: Mother Teresa
Wikiquote has a collection of quotations related to: Mother Teresa
Mother Teresa of Calcutta Center, India – Official Site
Missionaries of Charity Fathers (MC Fathers / MC Priests) – Official Website: Biography of Mother Teresa
Missionaries of Charity Brothers (Active Branch)
Mother Teresa and her patron saint, St. Therese of Lisieux
Mother Teresa Memorial Page
Nobel Laureate Biography (Nobel Foundation)
Complete Mother Teresa Quotations
Mother Teresa: Angel of Mercy (CNN)
The TIME 100: The Most Important People of the Century—Mother Teresa
Mother Teresa's Crisis of Faith (TIME.com)
Speech at National Prayer Breakfast, Washington, D.C. 3 February 1994
Peggy Noonan, "Still, Small Voice," Crisis, 1 February 1998 (account of the National Prayer Breakfast speech)
Mother Teresa at the Internet Movie Database
Missionaries of Charity Active and Contemplative Sisters with U.S. contact information (CMSWR member page)
India to give Mother Teresa state funeral, CNN
"The Illusory vs The Real Mother Teresa", by Michael Hakeem, is a review of Christopher Hitchens' The Missionary Position. Published in Freethought Today, August 1996.
Christopher Hitchens' articles "Saint to the rich" in Salon.com, September 1997 and "Mommie Dearest" in Slate.com, 20 October 2003, both by Christopher Hitchens.
"The squalid truth behind the legacy of Mother Teresa" by Donal MacIntyre in the New Statesman, 22 August 2005
"Mother Teresa: Where are her millions?", Stern 10 September 1998.
"Mother Teresa's House of Illusions" by Susan Shields
"Mother Teresa of Calcutta" Website of Sally Warner
"Mother Teresa, John Paul II, and the Fast-Track Saints" by Michael Parenti, CommonDreams