วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีสงกรานต์


เป็นประเพณีของคนไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะคนไทยในประเทศไทยเท่านั้น ที่ถือว่าประเพณีสงกรานต์มีความสำคัญ คนที่พูดภาษาตระกูลไท ก็ยึดถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน เช่น ประเทศลาว คนไทยใหญ่ในประเทศพม่าที่ชายแดนติดกับภาคเหนือของไทย คนจีนที่พูดภาษาตระกูลไท ในแค้วนยูนนาน เป็นต้น

สงกรานต์ เป็นคำที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมใช้ แต่คำเต็ม ๆ คือ ตรุษสงกรานต์ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียด ดังนี้

ตรุษ แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายถึง ตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี ดังนั้น ตรุษ จึงหมายถึงพิธีแสดงความยินดีที่ปีเก่าผ่านไป การมีชีวิตรอดมาตลอดปีได้ ก็มีการแสดงความยินดี คนไทยแต่ก่อนนับเดือน เมษายน เป็นเดือนสิ้นปี และเริ่มปีใหม่ พิธีทำบุญวันตรุษ จะทำ 3 วัน คือ เมื่อถึงเดือน 4 วันแรม 14 ค่ำ แรม 15 ค่ำ และวันขึ้น 1 ค่ำ ของเดือน 5 จะมีการนิมนต์พระมาสวด และมีการทำบุญ ถวายอาหารและขอพรจากพระ เพื่อเป็นสวัสดิมงคล สันนิฐานว่าคนไทยรับนับถือพุทธศาสนา เลยทำแบบอย่างพิธีทำบุญวันตรุษตามแบบอย่างของลังกามาด้วย

ส่วน สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ หรือ เคลื่อนที่ หมายถึง พระอาทิตย์ย้ายที่หรือเคลื่อนเข้าสู่ราศีใหม่ ซึ่งก็หมายถึง การขึ้นปีใหม่นั่นเอง คนจึงแสดงความยินดีที่มีชีวิตยืนยาวย่างเข้าสู่ปีใหม่ จึงต้อนรับปีใหม่ วันปีใหม่จะเป็นวันที่ 13, 14, และ 15 เมษายนของทุกปี

วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เรียกว่า วันเนา และวันที่ 15 เรียกว่า วันเถลิงศก ทางภาคเหนือ เรียกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เข้าใจง่ายดี ดังนี้ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่อง คงหมายถึง ร่ายกาย จิต วิญญาณเก่า ๆ ของปีเก่ากำลังผ่านพ้นไป วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเน่า ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันพญาวัน ซึ่งก็หมายถึงวันสำคัญวันแรกของปีใหม่นั่นเอง

เรื่องของสงกรานต์ มีตำนานปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพน กล่าวถึงมูลเหตุแห่งสงกรานต์ สรุปได้ว่า

มีเศรษฐีคนหนึ่งถูกนักเลงสุราใกล้บ้านที่มีลูกหน้าตาหมดจด 2 คน มากล่าวหาหยาบคายว่า ร่ำรวยก็สู้เขาไม่ได้ แม้ยากจนก็ยังมีลูกสืบสกุล ตายแล้วก็สูญเปล่า เศรษฐีจึงไปบนบานศาลกล่าวที่ต้นไทร ริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดมา ชื่อ ธรรมบาลกุมาร บิดาปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรนั้น ธรรมบาลเฉลียวฉลาด เรียนจบไตรเพท เมื่ออายุ 7 ขวบ และรู้ภาษานกด้วย ท้าวกบิลพรหมจึงมาทดลองความรู้ โดยถามปัญหา 3 ข้อ ถ้าตอบได้ จะตัดศีรษะบูชา คือ

เช้าราศีอยู่ที่ไหน
เที่ยงราศีอยู่ที่ไหน
ค่ำราศีอยู่ที่ไหน
ภายใน 7 วันจะมาฟังคำตอบ ธรรมบากลุมาร คิดไม่ออก ถึงวันที่ 6 จึงแอบหนีจากปราสาทไปหลบอยู่ใต้ต้นตาลใหญ่ 2 ต้น ซึ่งพญาอินทรีผัวเมียทำรังอยู่บนนั้น

ตอนค่ำนางนกอินทรีถามผัวว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารที่ไหนกิน ผัวตอบว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร เพราะจะแพ้ตอบปัญหากบิลพรหมไม่ได้ จะถูกตัดหัว เมื่อนางนกอินทรีถามปัญหาว่าอย่างไร และคำตอบว่าอย่างไร พญาอินทรีเฉลยปัญหาให้เมียฟังว่า

ตอนเช้าราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงเอาน้ำล้างหน้าตอนเช้า
ราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมมาปะพรมที่อก
ราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงล้างเท้าก่อนนอน
ธรรมบาลได้ฟังนกอินทรีผัวเมียสนทนาจึงกลับมาประสาท พอวันรุ่งขึ้นกบิลพรหมก็มาถามปัญหา ธรรมบาลก็ตอบตามที่ได้ยินจากพ่อนกอินทรี กบิลพรหมแพ้จึงต้องตัดศีรษะตามสัญญา แต่ศีรษะของกบิลพรหมมีฤทธิ์อำนาจมาก ถ้าตกถึงพื้น จะเกิดไฟไหม้ทั่วโลก ถ้าทิ้งบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าโยนลงน้ำ มหาสมุทรจะเหือดแห้งไปทันที จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารับศีรษะไว้ แห่รอบเขาพระสุเมรุ แล้วเชิญไปไว้ในมณฑปในถ้ำคันธธุลี เขาไกรลาส เมื่อครบ 365 วันหรือ 1 ปี นางทั้งเจ็ดจัดเวรกันมาเชิญศีรษะกบิลพรหมออกมาแห่รอบเขาพระสุเมรุ โดยกำหนดว่า วันที่ 13 เดือนเมษายน คือวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันใด ธิดาประจำวันนั้นก็จะป็นผู้อัญเชิญพาน ดังนี้

วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ ทุงษะ
วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ โคราค
วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษส
วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มัณฑา
วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ กิริณี
วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ กิมิทา
วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโหทร
สงกรานต์เป็นประเพณีที่ชาวไทยทั่วประเทศปฏิบัติสืบต่อเป็นประเพณีมาช้านาน ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน จนถึงวันที่ 15 เมษายน ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา และสรงน้ำพระทั้งพระพุทธรูป และพระสงฆ์ แล้วก็จะรดน้ำ มีการเล่นสาดน้ำและเล่นกีฬาพื้นบ้าน

ประเพณีปล่อยปลาถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะเดือนเมษายน เป็นหน้าแล้ง อากาศร้อนมาก น้ำแห้งขอด ปลาก็จะไปรวมกันอยู่ตามแหล่งน้ำเล็ก ๆ หากน้ำแห้งก็จะตาย เป็นเหยื่อของนก กา หรือสัตว์อื่น คนเห็นก็เมตตา นำไปปล่อยในแม่น้ำ พอถึงฤดูฝนปลาที่รอดตายก็กลับมาแพร่พันธุ์เป็นอาหารของคนได้อีก

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

เชียงคาน



ประวัติความเป็นมาเมืองเชียงคานเดิมตั้งอยู่ที่เมืองชะนะคาม ประเทศลาว ซึ่งสร้างโดยขุนคาน โอรสของขุนคัวแห่งอาณาจักร ล้านช้าง เมื่อประมาณ พ.ศ. 1400 ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2250 อาณาจักรล้านช้างแยกออกเป็นสองอาณาจักรคือ อาณาจักร หลวงพระบาง ซึ่งมีพระเจ้ากีสราชเป็นกษัตริย์ และอาณาจักรเวียงจันทน์ ซึ่งมีพระเจ้าไชยองค์เว้เป็นกษัตริย์ โดยกำหนดอาณาเขตให้ดินแดนเหนือแม่น้ำเหืองขึ้นไปเป็นอาณาเขตหลวงพระบาง และใต้แม่น้ำเหืองลงมาเป็นอาณาเขตเวียงจันทน์ ต่อมาทางหลวงพระบางได้สร้างเมืองปากเหืองซึ่งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่านและทางเวียงจันทน์ได้ตั้งเมืองเชียงคาน

เดิมเป็นเมืองหน้าด่านเช่นกัน ต่อมา พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ ตีเวียงจันทน์ได้จึงได้อันเชิญพระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี แล้วได้รวมอาณาจักรล้านช้างเข้าด้วยกันและให้เป็นประเทศราชของไทย และได้กวาดต้อนผู้คนพลเมืองมาอยู่เมืองปากเหืองมากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เมืองปากเหืองไปขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากไทยโดยยกกำลังจากเวียงจันทน์มายึดเมืองนครราชสีมา แต่ในที่สุดเจ้าอนุวงค์ถูกจับขังจนสิ้นชีวิต กองทัพไทยที่ยกมาปราบเจ้าอนุวงศ์ที่นครราชสีมาได้ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงมายังเมืองปากเหืองมากขึ้น และโปรดเกล้าฯ ให้พระอนุพินาศ (กิ่ง ต้นสกุลเครือทองศรี) เป็นเจ้าเมืองปากเหืองคนแรก แล้วพระราชทานชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงคาน ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางและได้เข้าปล้นสะดมเมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) เป็นจำนวนมาก

ครั้งต่อมา เห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ไม่เหมาะสม ผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านท่านาจันทร์ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่เมืองใหม่เชียงคานหรืออำเภอเชียงคานปัจจุบันโดยสิ้นเชิง แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคานใหม่ ได้ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่าศาลาเมืองเชียงคาน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่บริเวณวัดโพนชัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452 เมืองเชียงคานซึ่งมีพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี ศรีประเสริฐ) ได้รับตำแหน่งนายอำเภอเชียงคานคนแรก ต่อมาปี 2548 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคานมาอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์และโทษของช็อคโกแลต




"ช็อคโกแลต" ของหวานยอดนิยมตลอดปีไม่มีตกยุค โดยเฉพาะเทศกาลแห่งความสุขทั้งคริสต์มาส ปีใหม่ หรือวาเลนไทน์ ใครๆ ต่างก็นิยมลิ้มรสหอมละมุนหวานละไมของช็อคโกแลตเป็นการใหญ่ แม้ความขมของโกโก้ที่ซ่อนอยู่ในความหวานของช็อคโกแล็ตมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเราอยู่ไม่น้อย แต่หากบริโภคอย่างไม่บันยะบันยังส่งผลร้ายให้ร่างกายก็เป็นได้

เทศกาลแห่งความสุขเริ่มขึ้นทีไร สารพัด "ช็อคโกแลต" ต้องเข้าไปมีเอี่ยวด้วยทุกที แต่เพราะความหวานจับจิตของน้ำตาลและความมันเนยของนมที่ผสมผสานกับโกโก้ ทำให้หลายคนพรั่นพรึงกับโรคอ้วนมากกว่าจะนึกถึงคุณประโยชน์อื่นที่ซุกซ่อนอยู่ในช็อคโกแลต ซึ่งนักวิทยาหลายสำนักที่สนใจค้นหาความลับของช็อคโกแลตก็พบว่าในขนมหวานสีน้ำตาลดำชนิดนี้มีคุณค่านานาแฝงอยู่ในความอร่อยสุดลึกล้ำ

เมล็ดโกโก้ (cacao) เป็นส่วนประกอบหลักที่ถูกปรุงแต่งด้วยนม น้ำตาล และส่วนผสมอื่นๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลายในรสชาติให้กับนานาช็อคโกแลต แต่ที่รู้จักกันดีก็มีช็อคโกแลตนม (milk chocolate) หวานมันกลมกล่อม, ช็อคโกแลตดำ (dark chocolate) เข้มเต็มรสชาติโกโก้ และ ช็อคโกแลตขาว (white chocolate) ที่มีแต่โกโก้บัตเตอร์ (cocoa butter) หรือไขมันโกโก้ แต่ไม่มีเนื้อโกโก้ (cocoa solids)

นอกจากรสชาติหอมหวานชวนลิ้มลองแล้ว ช็อคโกแลตยังมีเสน่ดึงดูดเหล่านักวิจัยให้ค้นหาความลับที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความอร่อยนี้มานานนับพันปี

ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) สารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่มากมายในเมล็ดโกโก้ เป็นยาวิเศษขนานหนึ่งที่ทำให้คนที่กินช็อคโกแลตอยู่ห่างไกลจากโรคหัวใจและมะเร็งได้ ซึ่งศาสตราจารย์โรเจอร์ คอร์เดอร์ (Roger Corder) นักวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยลอนดอน อังกฤษ วิจัยแล้วพบว่าในช็อคโกแลตดำมีสารโกโก้ฟาโวนอยด์ (cocoa flavonoids) สูงกว่าช็อคโกแลตอื่นๆ

สารโกโก้ฟาโวนอยด์ช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนโลหิต เสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดให้ยืดหยุ่นและแข็งแรง ป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่ม ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ความดันโลหิตสูง และหัวใจวาย

นอกจากนี้ในช็อคโกแลตยังอุดมด้วยกรดอะมิโนทริปโตแฟน (tryptophan) ซึ่งใครก็ตามที่กินช็อคโกแลตเข้าไป ทริปโตแฟนจะไปกระตุ้นให้สมองหลั่งสารแห่งความสุข "เซโรโทนิน" (serotonin) ออกมาละลายความตึงเครียดให้มลายหายไปและแทนที่ด้วยความรู้สึกสุขสดชื่น

งานวิจัยของศาสตราจารย์คาร์ล คีน (Prof. Carl Keen) และคณะจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียในเมืองดาวิส (University of California at Davis) สหรัฐฯ ทดลองให้อาสามัคร 30 คน ดื่มเครื่องดื่มทุกชนิด ได้แก่ น้ำ, โก้โก้ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน โดยดื่มครั้งละ 1 ชนิด ในช่วงเวลาต่างกันตามที่กำหนด และต้องเจาะเลือดออกมาตรวจทุกครั้งทั้งก่อนและหลังดื่ม

พบว่าทุกครั้งหลังจากดื่มโกโก้ เกร็ดเลือด (Platelet) ของอาสาสมัครทุกคนจับตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนน้อยกว่าเมื่อดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มคาเฟอีนชนิดอื่น แสดงว่าโกโก้สามารถป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มจนทำให้เส้นเลือดตีบตัน จึงช่วยลดภาวะเส้นเลือดอุดตันและสดความเสี่ยงหัวใจวายกระทันหันได้

ส่วน ดร.ไบรอัน เราเดนบุช (Dr. Bryan Raudenbush) จากมหาวิทยาลัยวีลลิง เยซูอิต (Wheeling Jesuit University) เวสต์ เวอร์จิเนีย สหรัฐฯ เปิดเผยความลับของช็อคโกแลตว่าเป็นแหล่งของสารกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าทุกครั้งที่กินชอคโกแลตเข้าไป เช่น ทีโอโบรมีน (theobromine), ฟีนีไทลามีน (phenethylamine) และคาเฟอีน (caffeine)

ดร.เราเดนบุช ทดลองใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วัดการสั่งงานของสมองและทดสอบปฏิกิริยาต่างๆ ของอาสาสมัครที่กินช็อคโกแลตดำ, ช็อคโกแลตนม เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้กินอะไรเลย ก็พบว่ากลุ่มที่กินช็อคโกแลตมีปฏิกิริยาตอบสนองดีกว่า โดยเฉพาะกลุ่มที่กินช็อคโกแลตนมจะตอบสนองในส่วนของความจำได้ดีกว่ากลุ่มอื่น

นี่เป็นเพียงส่วนเสี้ยวของงานวิจัยมากมายที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของช็อคโกแลต และคงทำให้หลายคนที่พิศมัยในความหอมหวานของช็อคโกแลตรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันทีเมื่อรู้ว่าขนมหวานสุดโปรดปรานนี้ไม่ได้มีดีแค่ความอร่อยอย่างเดียว แต่ยังมากคุณค่าของสารสำคัญที่มีประโยนช์ต่อร่างกายและป้องกันโรคภัยหลากชนิด

แต่ช้าก่อน! อย่าเพิ่งด่วนดีใจจนโหมกินช็อคโกแลตต่างข้าวเด็ดขาด เพราะช็อคโกแลตที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปไม่ว่าจะถูกหรือแพง ล้วนมีไขมันและน้ำตาลเป็นตัวชูโรงร่วมกันกับโกโก้ ซึ่งหากบริโภคอย่างไม่มีขีดจำกัด มีหวังประโยชน์ของช็อคโกแลตคงจะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นโทษเสียมากกว่า เพราะไขมันและน้ำตาลที่ช่วยเพิ่มความอร่อยในช็อคโกแลตอาจกลายเป็นส่วนเกินเมื่อเข้ามาอยู่ในร่างกายของเราดังที่ทราบกันดีว่าจะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ทดลองให้กลุ่มบุคคลที่แข็งแรงแต่สูบบุหรี่กินช็อคโกแลตต่างชนิดกันเป็นประจำทุกวัน วันละ 40 กรัม ติดต่อกันในระยะเวลาที่กำหนด และควบคุมไม่ให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งอาหารอื่นๆเลย

กลุ่มบุคคลเหล่านี้ล้วนเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน แต่ภายหลังการทดลองทีมวิจัยพบว่ากลุ่มที่กินช็อคโกแลตดำ ซึ่งมีเนื้อโกโก้อยู่ 74% มีระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้นและดีกว่ากลุ่มอื่นๆ ส่วนกลุ่มที่กินช็อคโกแลตขาวกลับไม่มีผลอันใดเลย พวกเขาจึงสรุปว่า กินช็อคโกแลตดำวันละนิดช่วยให้จิตผ่องใสและห่างไกลจากโรคภัยได้

ดังนั้น หากจะกินช็อคโกแลตแล้วให้ได้ประโยชน์มากกว่าโทษ ก็ควรจะเลือกช็อคโกแลตที่มีส่วนผสมของไขมันและน้ำตาลต่ำแต่มีปริมาณโกโก้สูง นัยหนึ่งก็หมายถึง "ช็อคโกแลตดำ" นั่นเอง ซึ่งปริมาณโกโก้มากกว่าเป็นเครื่องการันตีว่าจะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากกว่าด้วย โดยเฉพาะฟลาโวนอยด์ที่มีบทบาทสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงต่อเส้นเลือดหัวใจอุดตัน

ถ้ากินช็อคโกแลตดำวันละ 100 กรัม เป็นประจำทุกวัน จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้ แต่หากเป็นช็อคโกแลตนม ช็อคโกแลตขาว หรือเครื่องดื่มช็อคโกแลตดำแต่มีส่วนผสมของนมอยู่ด้วย จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพลดน้อยลงตามส่วนผสมของโกโก้ที่ลดลงหรือนมและน้ำตาลที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ผงโกโก้ที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยอัลคาไล (alkali) สารฟลาโวนอยด์ส่วนใหญ่ก็จะถูกทำลายไปด้วย

แม้ว่าในช็อคโกแลตจะอุดมไปด้วยไขมัน แต่ 2 ใน 3 ของไขมันที่มีอยู่ในช็อคโกแลตเป็นไขมันอิ่มตัวที่เรียกว่า สเตียริก (stearic acid) และไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่งชนิดโอเลอิก (oleic acid) ซึ่งสเตียริกนี้จะไม่ไปช่วยเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL cholesterol) ในกระแสเลือด ฉะนั้นจึงหมดห่วงไปได้อีกเปราะหนึ่ง

แต่ก็อย่าลืมว่ายังมีไขมันอีก 1 ส่วนที่อาจไม่เป็นผลดีกับร่างกาย ดังนั้นเมื่อกินช็อคโกแลตแล้วก็ต้องกินอาหารอื่นที่มีประโยชน์ สามารถลดการสะสมของไขมันและคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีได้ รวมทั้งออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมกันให้ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สะพานสารสิน



สะพานสารสินเป็นสะพานที่สร้างข้ามช่องปากพระเพื่อเชื่อมระหว่างเกาะภูเก็ตตรงบริเวณท่าฉัตรไชยกับท่านุ่น จังหวัดพังงามีความยาวทั้งหมด 660 เมตรเป็นทางผิวคอนกรีต 360 เมตร ตัวสะพานคอนกรีตอัดแรงยาว 300 เมตร กว้าง 11 เมตร เป็นทางรถวิ่งกว้าง 8 เมตร ทางเท้าข้างละ 1.5 เเมตร กรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้าง เริ่มดำเนินการตามนโยบายในปี พ.ศ. 2494 โดยเปิดให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง แต่ปรากฏว่าการก่อสร้างในระยะเริ่มต้นมีปัญหาเพราะความไม่ชำนาญการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้างอีกครั้งโดยบริษัท Cristiani & Nelson(Thailand) Ltd.จนสำเร็จสามารถ เปิดใช้ได้เมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 สิ้นงบประมาณ 28,770,000 บาท สะพานนี้ให้ชื่อตามนามสกุลของนายพจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติในขณะนั้น

?????สะพานสารสินเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ เมื่อมีโศกนาฏกรรมของหนุ่มสาว 2 คนที่ตัดสินปัญหาด้วยการใช้ผ้าขาวม้าผูกต่อกันทัดตัวเองกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2516 และได้นำเรื่องราวของคนทั้งสองมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ"สะพานรักสารสิน" และต่อมาก็มีการสร้างสะพานเทพกระษัตรี เป็นสะพานที่สองที่เชื่อมระหว่างเกาะภูเก็ตกับพังงา คู่ขนานกับสะพานสารสิน สามารถย่นระยะทางได้หลายกิโลเมตรทีเดียวได้ก่อสร้างหลังจากสะพานสารสินเปิดใช้มา 30 ปี ปัจจุบันนี้ สะพานสารสินได้กำหนดให้ใช้เป็นสะพานขาออกจากจังหวัดภูเก็ต ส่วนสะพานเทพกระษัตรีเป็นสะพานที่รถใช้ ้เดินทางเข้ามาจากจังหวัดพังงา ซึ่งในตอนนี้ผู้ที่ผ่านไปมาระหว่างจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงาจะสังเกตุเห็นว่าได้มีการสร้างสะพานสารสิน 2 ซึ่งกรมทางหลวงได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลในปีงบประมาณ 2552 จำนวน 377 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสะพานสารสิน 2 ทดแทนสะพานสารสินเดิมที่ก่อสร้างมานานถึง 52 ปี แล้ว ทำให้อยู่ในสภาพที่เก่า ประกอบกับสะพานสารสินที่ใช้งานอยู่ในขนาดนี้เรือขนาดใหญ่ไม่สามารถที่จะลอด ผ่านได้ ทางกรมทางหลวงจึงได้ออกแบบสารสิน 2 ขึ้น เพื่อของบประมาณจากรัฐบาลมาดำเนินการก่อสร้าง

โดยสะพานสารสิน 2 นี้ เป็นสะพานที่สร้างอยู่ในระดับแนวเดียวกับสะพานเทพกระษัตรี มีความยาว 650 เมตร กว้าง 12 เมตร เป็นสะพาน 2 ช่องทางจราจร ใช้สำหรับขาออกจากเกาะภูเก็ต
โดยได้เริ่มก่อสร้างสะพานดังกล่าวแล้ว โดยได้มีการเซ็นสัญญาก่อสร้างไปเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.52 นี้ ใช้เวลาในการก่อสร้าง 720 วัน หรือประมาณ 2 ปี โดยทางบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

?????ภายหลังจากที่สะพานสารสิน 2 ก่อสร้างแล้วเสร็จ สะพานสารสินเดิมที่ใช้อยู่ในขณะนี้จะไม่มีการทุบทิ้งแต่อย่างใด จะปรับปรุงเป็นจุดชมวิวและแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นสะพานที่เก่าแก่อยู่คู่กับเกาะภูเก็ตและสามารถมองเห็นวิวได้ อย่างสวยงาม พร้อมทั้งจะมีการยกระดับของสะพานสารสินเดิมใน 2 ช่องกลางให้เท่ากับสะพานสารสินใหม่ เพื่อให้เรือขนาดใหญ่สามารถลอดผ่านได้

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไวน์


ไวน์ (อังกฤษ: wine; ฝรั่งเศส: vin) คือ เมรัยอันผลิตจากน้ำองุ่น แต่ก็อาจใช้กับเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำผลไม้อื่นเช่นกัน ไวน์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาลในองุ่น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ไวน์ขาว (White wine) หรือ (vin blanc) และ ไวน์แดง (Red wine) หรือ (vin rouge) ไวน์ที่ได้จากการผสมระหว่างไวน์ 2 ชนิดเรียกว่า ไวน์สีชมพู (Rosé หรือว่า Pink wine) [ rosé แปลว่าสีชมพู ถ้าใช้กับ wine เรียกว่า rosé ไปเลยไม่ต้องเรียก vin rosé] ส่วนไวน์ที่มีการอัดก๊าซลงไป จะเรียกว่า สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine) สปาร์กลิงไวน์เป็นการเลียนแบบ แชมเปญ (Champagne)

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีมาหลายพันปีแล้ว มีการค้นพบโถโบราณบรรจุเมล็ดองุ่นไร่ซึ่งมีอายุนับเนื่องขึ้นไปกว่า 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล

นอกจากที่ประเทศอิหร่านแล้ว ยังมีการพบร่องรอยของเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ได้จากกรรมวิธีการหมักแบบเดียวกับไวน์ในสมัย 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ทางตอนเหนือของประเทศจีน

ในยุคอียิปต์โบราณ การเพาะปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบระเบียบมาก เทพต่าง ๆ ในตำนานเทพปกรณัม ทั้งโอซิริสของอียิปต์ เทพไดโอนีซุสของกรีก บัคคัสของโรมัน หรือกิลกาเมชของบาบิโลน ล้วนแล้วแต่เป็นเทพแห่งไวน์ นอกจากนั้น ไวน์ยังเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูเจ้าตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ไวน์มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในช่วงสองร้อยปีหลัง ชาวโรมันในสมัยก่อนนั้นดื่มไวน์ที่มีรสฉุนจนต้องผสมน้ำทะเลก่อนดื่ม รสชาติของไวน์ดังกล่าวแตกต่างจากไวน์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง

ในสมัยศตวรรษที่ 19 ไวน์ถือว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โดยคนงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวพืชผลจะดื่มไวน์ถึงวันละ 6-8 ลิตร และนายจ้างจะจ่ายไวน์ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแรง เพราะสมัยนั้นน้ำยังไม่ค่อยสะอาดพอที่จะนำมาดื่มได้

[แก้] ส่วนประกอบของไวน์ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของไวน์คือแอลกอฮอล์ที่ละลายในน้ำ และส่วนผสมทางเคมีอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นสารระเหยและสารไม่ระเหย ทั้งสารละลายและสารแขวนลอย ปกติแล้ว ปริมาณของแอลกอฮอล์จะอยู่ระหว่าง 9-15 เปอร์เซ็นต์ต่อปริมาณน้ำ 85 เปอร์เซ็นต์

แอลกอฮอล์ในไวน์ส่วนใหญ่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ และยังพบตัวทำละลายประเภทกลีเซอรอล ซอร์บิทอล และบูตีแลนกลีคอลด้วย

นอกจากนั้น ไวน์ยังประกอบด้วย

น้ำตาลชนิดต่าง ๆ ทั้งกลูโคส ฟรุคโตส ในปริมาณที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 1-2 กรัมต่อลิตร ในดรายไวน์ที่หมักจนน้ำตาลกลายเป็นแอลกอฮอล์แล้ว จนถึง 50-60 กรัมต่อลิตร ในไวน์หวานที่กระบวนการหมักบ่มยังไม่สมบูรณ์
กรดต่าง ๆ ทั้งกรดมาลิก กรดซิตตริก กรดทาทาริก กรดอะซีติก กรดแลกติก กรดซัคซินิก
ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น แทนนิน แอนโทซีอัน
รงควัตถุ (pigment) ต่างๆ เช่น แอนโทไซยานิน

การแบ่งประเภทไวน์

ในหลาย ๆ ประเทศจะแบ่งประเภทไวน์ตามพันธุ์ขององุ่นที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ และในประเทศฝรั่งเศสมีการแบ่งประเภทไวน์ตามพื้นที่แหล่งผลิตหรือกรู (ฝรั่งเศส: cru) ผู้ผลิต และปีที่ผลิต

[แก้] พันธุ์องุ่น (ฝรั่งเศส: Cépage / อังกฤษ: Cultivar)พันธุ์องุ่นดำที่มีชื่อเสียงในการทำไวน์แดงหรือไวน์ชมพู ได้แก่

พันธุ์องุ่นหลักของเมืองบอร์โด (Bordeaux)
กาแบร์เน-โซวีญง (cabernet-sauvignon)
กาแบร์เน-ฟรอง (cabernet franc)
แมร์โลนัวร์ (merlot noir)
เปอตีแวร์โด (petit verdot)
โกตหรือมูร์แวด (cot or mourvede)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นชองปาญ (Champagne)
ปีโนนัวร์ (pinot noir)
[ขาว] ปีโนเมอนีเย (pinot meunier)
[ขาว] ชาร์ดอเน (chardonnay)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นบูร์กอญ (Bourgogne) [โบโชเล Beaujolais]
กาเมนัวร์ (gamay noir) หรือกาเมโฟรโอ (gamay freaux)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นลองเกอด็อก-รูซียง (Languedoc Rousillon) [เวเดแอน: แวงดูนาตูแรล VDN: Vin Doux Naturel]
ซีรา (syrah)
เกรอนาช (grenache)
พันธุ์องุ่นหลักของรัฐแคลิฟอร์เนีย (California)
ซินฟันเดล (zinfandel) นำมาจากประเทศอิตาลี
พันธุ์ขาว องุ่นที่นิยมนำมาทำไวน์ขาวได้แก่

พันธุ์องุ่นหลักของเมืองบอร์โด (Bordeaux) [โซแตร์น, อ็องตร์-เดอ-แมร์, ลูปียัก Sauterne, Entre-deux-mer, Loupiac]
โซวีญงบล็อง (sauvignon blanc)
เซมียง (sémillon)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นบูร์กอญ (Bourgogne) [ชาบลี, มาร์โซล Chablis, Marsault]
ชาร์ดอเน (chardonnay)
อาลีโกเต (aligoté)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ (Pays de la Loire) [วูเวร Vouvray]
เชอแนงบล็อง (chenin blanc)
พันธุ์องุ่นหลักของแคว้นอัลซาซ (Alsace)
เกเวือร์ซทรามีเนอร์ (gewürztraminer)
ปีโนกรี (pinot gris)
รีเอสลิง (riesling)
มุสกา (muscat)
ซีลวาเน (sylvaner)
อามีญ (amigne) (ในรัฐวาเล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
ซาวาแญง (savagnin)
[แก้] พื้นที่คำว่า "กรู" (ฝรั่งเศส: cru) หมายถึงไวน์เฉพาะถิ่นที่ผลิตในพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้ โดยพื้นที่แต่ละแห่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม สภาพพื้นดิน สภาพอากาศ ซึ่งทำให้องุ่นที่ปลูกในพื้นที่นั้นๆ ให้รสชาติและลักษณะไวน์ที่เป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น ไวน์ของผู้ผลิตในประเทศต่าง ๆ (ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ ชิลี แคลิฟอร์เนีย - สหรัฐอเมริกา) สร้างความหลากหลายให้กับรสชาติไวน์ตามลักษณะของพื้นที่ผลิต (แสงแดด ความชื้น คุณภาพดิน)

ในฝรั่งเศส พื้นที่ผลิตมักจะสัมพันธุ์กับพันธุ์องุ่น โดยในพื้นที่หนึ่ง ๆ อาจจะปลูกองุ่นเพียงพันธุ์เดียว หรือหลายพันธุ์เป็นการเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ไวน์มาดีรอง (ฝรั่งเศส: madiran) จากแถบเทือกเขาพีเรนีส จะทำจากองุ่นพันธุ์ตานา (ฝรั่งเศส: tannat) เท่านั้น

ผู้ผลิตจะตั้งชื่อไวน์ตามชื่อพื้นที่สำหรับไวน์บูร์กอญ (ฝรั่งเศส: Bourgogne) หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่าเบอร์กันดี (อังกฤษ: Burgundy) ส่วนไวน์บอร์โด (ฝรั่งเศส: Bordeaux) ตั้งตามชื่อปราสาท (ฝรั่งเศส: châteaux - ชาโต)

[แก้] ปีที่ผลิต (ฝรั่งเศส: Millésime / อังกฤษ: Vintage)ปีที่ผลิต คือ ปีที่มีการเก็บองุ่นซึ่งนำมาใช้ทำไวน์นั้น ๆ เป็นตัวบ่งบอกถึงลักษณะอากาศในปีต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของคุณภาพไวน์ โดยปกติผู้ผลิตจะเขียนชื่อปีที่ผลิตไว้บนฉลาก กฎหมายของสหภาพยุโรปไม่ได้กำหนดให้แจ้งปีที่เก็บเกี่ยวองุ่นที่ใช้ทำไวน์แต่อย่างใด

ชนิดของไวน์

ไวน์แดง (อังกฤษ: red wine)

ตัวอย่างไวน์แดงที่ได้รับความนิยม

บาโรโล (Barolo) - อิตาลี
บรูเนลโลดีมอนตัลชีโน (Brunello di Montalcino) - อิตาลี
โบโชเล (Beaujolais) - ฝรั่งเศส
บอร์โด (Bordeaux) - ฝรั่งเศส
บูร์กอญ (Bourgogne) หรือบูร์กันดี (Burgundy) - ฝรั่งเศส
กาแบร์เนโซวีญง (Cabernet Sauvignon) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย มอลโดวา แอฟริกาใต้
การ์เมเนเร (Carmenere) - ชิลี
กีอันตี (Chianti) - อิตาลี
แมร์โล (Merlot) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย วอชิงตัน ชิลี แอฟริกาใต้
ปีโนนัวร์ (Pinot Noir) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออริกอน แอฟริกาใต้
พิโนเทจ (Pinotage) - แอฟริกาใต้
เรียวคา (Rioja) - สเปน
ซีรา/ชีรัซ (Syrah/Shiraz) - ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย แคลิฟอร์เนีย แอฟริกาใต้
วัลโปลีเชลลา (Valpolicella) - อิตาลี
ซินฟันเดล (Zinfandel) - แคลิฟอร์เนีย
[แก้] ไวน์ขาว (White wine)ผลิตจากองุ่นขาวหรือองุ่นแดงแต่เอาเฉพาะน้ำองุ่น แบ่งออกเป็นหลายชนิด

ไวน์ขาวอ่อน (Vin Blanc Tranquille or Doux)
ไวน์ขาวแห้ง (Vin Blanc Sec or Demi-sec)
ไวน์ขาวหวาน (VDN, Porto, Xeres)
ไวน์ขาวอัดก๊าซ (Champagne, Vouvrey)
ลิเกอร์จากองุ่นขาว (Cognac, Armagnac, Pineau)
ตัวอย่างไวน์ขาวที่ได้รับความนิยม

ชาร์ดอเน (Chardonnay) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้
ชาบลี (Chablis) - ฝรั่งเศส
เชอแนงบล็อง (Chenin Blanc) - แอฟริกาใต้ ฝรั่งเศส
ฟรัสกาตี (Frascati) - อิตาลี
เกเวือร์ซทรามีเนอร์ (Gewürztraminer) - ฝรั่งเศส เยอรมนี แอฟริกาใต้
ลีบเฟรามิลค์ (Liebfraumilch) - เยอรมนี
ออร์วีเอโต (Orvieto) - อิตาลี
ปีโนกรี/ปีนอตกรีโจ (Pinot Gris/Pinot Grigio) - ฝรั่งเศส อิตาลี ออริกอน
ปุยยี-ฟุยเซ (Pouilly-Fuissé) - ฝรั่งเศส
รีสลิง (Riesling) – ฝรั่งเศส เยอรมนี
โซวีญงบล็อง (Sauvignon Blanc) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้
เซมียง (Sémillon) - แอฟริกาใต้
โซอาเว (Soave) - อิตาลี
แวร์ดิกกีโอเดย์กัสเตลลีดีเจซี (Verdicchio dei castelli di Jesi) - อิตาลี
[แก้] สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine)เป็นไวน์ชนิดมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อัดอยู่

ตัวอย่างสปาร์กลิงไวน์ที่ได้รับความนิยม

อัสตีสปูมันเต (Asti spumante) - อิตาลี
กาบา (Cava) - สเปน
แชมเปญ/ชองปาญ (Champagne) - ฝรั่งเศส สปาร์กลิงไวน์ที่ผลิตขึ้นที่แคว้นนี้เท่านั้นจึงจะได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อว่า แชมเปญ
ฟรันชากอร์ตา (Franciacorta) - อิตาลี
โปรเซกโก (Prosecco) - อิตาลี
เซคท์ (Sekt) - เยอรมัน
สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine) – แคลิฟอร์เนีย ออริกอน วอชิงตัน นิวเม็กซิโก
[แก้] ไวน์สีกุหลาบ (rosé)บูซุยโออาตซะเดโบโฮติน (Busuioacă de Bohotin) : โรมาเนีย
ลาเกรนโรซาโต (Lagrein Rosato) : อิตาลี
โรเซ (Rosé) : ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส โปรตุเกส แอฟริกาใต้ สเปน สหรัฐอเมริกา ตุรกี

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์


เทศกาลงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ปี 53

นครปฐม-จังหวัดนครปฐมเตรียมจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ปี 2553 ระหว่างวันที่ 18 - 26 พฤศจิกายน 2553 รวมงาน 9 วัน 9 คืนภูมิหลัง
งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากที่โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ครั้งใหญ่แล้ว ยังให้ขุด "คลองเจดีย์บูชา" ตั้งแต่บ้านท่านามาจนถึงกลางเมืองนครปฐม เพื่อใช้เป็นเส้นทางมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์อีกด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้า ให้ดำเนินการปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์สืบต่อมา และงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ก็จัดขึ้นเป็นประจำ
สำหรับการจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ปี 2553 ในปีนี้

พระธรรมปริยัติเวที เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ประธานจัดงานเทศกาลนมัสการ องค์พระปฐมเจดีย์ ปี 2552 กล่าวว่า องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เป็นปูชนียสถาน ที่สำคัญยิ่งเป็นศูนย์รวมแห่งสถาบันสำคัญทั้งสาม คือสถาบันชาติ สถาบันพระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นพระเจดีย์ที่ก่อสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีอายุนับพันปีภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ครั้งโบราณได้กำหนดการจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันเพ็ญกลางเดือน 12 เป็นประจำทุกปี ประเพณีสืบทอดตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อจะได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ประหนึ่งมาเฝ้าอยู่เบื้องพระยุคลบาทแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงนับว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐ สุด และอีกประการหนึ่งก็เพื่อจะได้ช่วยกันบริจาคเงินสมทบทุนไว้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ให้ยืนยงคงอยู่ตลอดไป

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

เอดวิน พาวเวลล์ ฮับเบิล



อ็ดวิน พาเวลล์ ฮับเบิล (อังกฤษ: Edwin Powell Hubble; 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 - 28 กันยายน ค.ศ. 1953) นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ศึกษารายละเอียดของดาวฤกษ์แต่ละดวงในกาแล็กซี เอ็ม 33 ซึ่งเป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้าน พบว่าดาวฤกษ์เหล่านี้อยู่นอกกาแล็กซี่ของเราออกไป หลังจากที่ฮับเบิลได้พิสูจน์ว่ามีกาแล็กซีอื่นอีกจำนวนมาก เขายังได้พิสูจน์อีกว่า กาแล็กซีเหล่านี้ กำลังเคลื่อนที่ห่างออกไป

เมื่อกาแล็กซีอื่นเคลื่อนที่ห่างออกไปหรือเคลื่อนที่เข้าหากาแล็กซีของเรา แสงที่สังเกตเห็นจากกาแล็กซีเหล่านี้ จะเป็นสีอื่นที่แตกต่างไปจากตอนที่ยังไม่ได้เคลื่อนที่

ถ้ากาแล็กซีเคลื่อนที่ห่างออกไปจะปรากฏมีสีแดงขึ้น เรียกว่า กาแล็กซีมีการเขยื้อนไปทางสีแดงหรือ "เรดชิฟต์" (redshift) ถ้าเคลื่อนที่เข้าหาเรา กาแล็กซีจะปรากฏมีสีน้ำเงินขึ้น เรียกว่า เขยื้อนไปทางสีน้ำเงินหรือ "บลูชิฟต์" (blueshift) ปรากฏการณ์เปลี่ยนสีนี้ เรียกว่า ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์

ฮับเบิลใช้ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์วัดความเร็วของกาแล็กซีต่างๆ และค้นพบความสัมพันธ์เหลือเชื่อที่ว่า กาแล็กซียิ่งอยู่ไกลยิ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้น นั่นคือเขาค้นพบว่า อัตราเร็วของกาแล็กซีเป็นปฏิภาคโดยตรงกับระยะห่าง ปัจจุบันเรียกว่า กฎของฮับเบิล กฎนี้แสดงว่าเอกภพทั้งหมดกำลังมีขนาดโตขึ้น

อนึ่ง ภาพถ่ายแรกที่ได้จากกล้องฮับเบิล ถูกเปรียบเทียบเป็นภาพโมนาลิซ่าแห่งวงการดาราศาตร์